Page 141 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 141

๕. คำชี้ขาดความเห็นแย้งของอัยการสูงสุดที่มีประเด็นการวินิจฉัยว่าเป็นกรณีเข้า
                เงื่อนไขระงับคดีหรือไม่

                       (๑) คำชี้ขาดความเห็นแย้ง สำนวนเลขรับที่ ชย.๑๕๖/๒๕๖๐
                       ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ปัจจุบันได้มีพระราชกำหนด
                การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐
                บัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ แม้จะได้บัญญัติให้ความผิด
                ฐานดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
                พ.ศ.  ๒๕๖๐  แต่เมื่อต่อมาได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ที่  ๓๓/๒๕๖๐

                เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
                กำหนดให้ระวางโทษสำหรับความผิดฐานดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑
                เป็นต้นไป ดังนั้น ในช่วงระหว่างวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐
                ความผิดฐานดังกล่าวจึงไม่มีบทลงโทษ เมื่อความผิดในคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐
                จึงเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำ

                ความผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโทษ ต้องใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของ
                คนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐
                อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓ ซึ่งเป็นกรณี
                ที่มีกฎหมายยกเว้นโทษ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดฐานดังกล่าวย่อมระงับไป
                ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๗) เข้าเงื่อนไขระงับคดีที่ต้องสั่งยุติ
                การดำเนินคดีตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ

                พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ (๗)
                

   
 หมายเหตุเพื่ออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำชี้ขาดความเห็นแย้ง สำนวนเลขรับที่ ชย.๑๕๖/๒๕๖๐
                       สืบเนื่องจากเดิมมีพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และต่อมามี
                พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่
                วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ บัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑

                โดยที่บทความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการนำไปบัญญัติไว้
                ในพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ต่อมามีคำสั่งหัวหน้า
                คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการ
                บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ กำหนดให้มาตรา ๑๐๑
                (ซึ่งเป็นระวางโทษของความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต ตามมาตรา ๘),
                มาตรา ๑๐๒ (ซึ่งเป็นระวางโทษของความผิดฐานรับคนต่างด้าวทำงานที่มีประกาศห้ามคนต่างด้าว

                ทำหรือรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาต ตามมาตรา ๙), มาตรา ๑๑๙
                (ซึ่งเป็นทั้งบทความผิดและระวางโทษของความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่แจ้งให้
                นายทะเบียนทราบกรณีที่มีหน้าที่ต้องแจ้ง) และมาตรา ๑๒๒ (ซึ่งเป็นระวางโทษของความผิดฐาน
                เป็นคนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ตามมาตรา ๗๓) แห่งพระราชกำหนด

                การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  131
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146