Page 143 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 143
ทั้งบทความผิดและระวางโทษ) ในช่วงระหว่างวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐
เมื่อได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ กำหนดให้พระราชกำหนด
การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๐๑, ๑๐๒, ๑๑๙, ๑๒๒
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป จึงเป็นการกระทำความผิดที่ไม่มีโทษที่จะลง
แก่ผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรคแรก จึงเป็นกรณีมีกฎหมาย
ยกเว้นโทษ ซึ่งมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๙ (๗) เข้าเงื่อนไขระงับคดีที่ต้องสั่งยุติการดำเนินคดี ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ (๗)
(ปัจจุบันตรงกับระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ (๘)) เช่นเดียวกันกับตามข้อ ๒
ซึ่งประเด็นพิจารณาทั้งกรณีตามข้อ ๒ และข้อ ๓ เป็นไปตามหนังสือสำนักงานอัยการ
สูงสุด ที่ อส ๐๐๔๐ (อก)/ว ๓๖๗ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐
๔. กรณีตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๓ แม้พนักงานอัยการจะยังไม่ได้มีคำสั่งทางคดี และรอจนถึง
วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ ไปแล้ว ผลการพิจารณาก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผลทางกฎหมาย
ที่เป็นเหตุให้เข้าเงื่อนไขระงับคดีได้เกิดขึ้นและปรากฏผลตามหลักการทางกฎหมายเช่นนั้นไปแล้ว ๘
(๒) คำชี้ขาดความเห็นแย้ง สำนวนเลขรับที่ ชย.๙๓๖/๒๕๕๙
ภายหลังเกิดเหตุ ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๘ บัญญัติให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย
การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และบัญญัติองค์ประกอบใหม่ของความผิด
ฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จว่า จะต้องเป็นการกระทำโดยทุจริต
หรือโดยหลอกลวง และจะต้องมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมาย
อาญาด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลัง
จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดซึ่งก็คือบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม
ใหม่มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓ ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าการกระทำของ
ผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานดังกล่าวหรือไม่ จึงจำต้องวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าเข้าองค์ประกอบ
ความผิดตามบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่หรือไม่ด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องที่มีกฎหมายออกใช้
ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น ซึ่งจะทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องผู้ต้องหา
ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๕) และเข้าเงื่อนไขระงับคดีตาม
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๕๔ (๕) ที่กำหนดให้พนักงานอัยการต้องมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด
สำหรับคดีนี้เมื่อพยานหลักฐานรับฟังได้ว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖, ๓๒๘ ประกอบกับผู้ต้องหามิได้มี
เจตนาโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย การกระทำของผู้ต้องหาจึงขาดองค์ประกอบ
ความผิดฐานดังกล่าว จึงสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์
อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามพระราชบัญญัติว่าด้วย
๘ เป็นการจัดการความรู้โดยสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด ๓ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๑ และมีการลงพิมพ์
เผยแพร่ในอัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๓ พุทธศักราช ๒๕๖๑ หน้า ๒๓ - ๒๖
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 133