Page 148 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 148
อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการและสำนักงานอัยการสูงสุดกรณีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ตีความสถานภาพของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ว่าไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ตามบทนิยาม
ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้จัด
ประชุมและมีมติที่ประชุมในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ว่า เมื่อได้พิจารณาสถานภาพของ
ธนาคารกรุงไทยฯ ในแง่สัดส่วนของการลงทุนและความสัมพันธ์กับรัฐ ทั้งในด้านความเป็นหน่วยงาน
ของรัฐตามกฎหมายอื่น สถานะของบุคลากร การเข้าสู่ตำแหน่งของกรรมการ ภารกิจตามนโยบาย
ของรัฐบาล และการกำกับดูแล เห็นว่า ธนาคารกรุงไทยฯ มีลักษณะเป็น “หน่วยงานอื่นของรัฐ”
ตามบทนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” ตามนัยพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ
พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๔ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาท
ระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๓ เมื่อธนาคารกรุงไทยฯ เป็น
“หน่ายงานของรัฐ” ในประเภท “หน่วยงานอื่นของรัฐ” ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและ
พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๔ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพิจารณาชี้ขาด
การยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๓ พนักงานอัยการ
และสำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจหน้าที่ว่าต่าง แก้ต่าง ให้คำปรึกษา ตรวจร่างสัญญาหรือ
เอกสารทางกฎหมาย วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท และดำเนินการต่าง ๆ ให้แก่ธนาคารกรุงไทยฯ
ซึ่งเป็น “หน่วยงานของรัฐ” ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๑๔, ๒๓ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพิจารณาขี้ขาดการยุติข้อพิพาท
ระหว่างหน่ายงานของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๖๑
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ได้ตีความสถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ
ของธนาคารกรุงไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ได้ตีความว่า ธนาคารกรุงไทย บริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่หน่วยงานของรัฐหรือ
รัฐวิสาหกิจตาม (ก) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าธนาคารกรุงไทย
เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด โดยมีกองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งมีสถานภาพเป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทหน่วยงาน
ในกำกับดูแลของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะถือหุ้นในจำนวนร้อยละ ๕๕.๐๗
ของทุนทั้งหมด ธนาคารกรุงไทยจึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจตามมาตรา ๔ (ข) แห่งพระราชบัญญัติ
การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
จากการตีความดังกล่าว ทำให้ธนาคารกรุงไทยถือเป็นรัฐวิสาหกิจทางธุรกิจกู้ยืมเงิน หนี้เงินกู้
ของธนาคารกรุงไทยที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกัน จะไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ตามบทนิยาม
“หนี้สาธารณะ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามหนังสือสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๙๐๐/๒๓๐
ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ เรื่อง สถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจของธนาคารกรุงไทย จำกัด
(มหาชน) ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เนื่องด้วยมีปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานของพนักงานธนาคารกรุงไทยฯ
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพียงประเด็นเดียวว่า
138 บทความ