Page 149 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 149
ในวันที่พนักงานธนาคารกรุงไทยฯ ยื่นคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
เป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณาแล้ว เห็นว่า ตามมาตรา ๖ แห่งพระราช
บัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้บัญญัติบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” หมายถึง
หน่วยงานสองประเภท ได้แก่
(๑) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐ
ตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ
(๒) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะ
เทียบเท่า หรือรัฐวิสาหกิจตาม (๑) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ
เมื่อธนาคารกรุงไทยฯ เป็นบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (๑) แห่งบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ”
ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ สำหรับการพิจารณาว่าธนาคารกรุงไทยฯ
เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (๒) แห่งบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสถานะของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงินซึ่งถือหุ้นในธนาคารกรุงไทยฯ เกินร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด ซึ่งในประเด็นนี้
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ให้ความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ ๑๓๙๗/๒๕๖๓ แล้วว่า
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่เป็นองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล
ไม่เป็นกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และไม่เป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ
ประกอบกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ตั้งขึ้นในธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นงานฝ่ายหนึ่งของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่นกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึงมี
สถานภาพเช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามบทนิยาม คำว่า
“รัฐวิสาหกิจ” ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ได้บัญญัติบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ”
ไว้สองประเภท โดยให้ความหมายเช่นเดียวกับ (๑) และ (๒) แห่งบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ”
ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ กรณี จึงต้องวินิจฉัยในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น
เมื่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่เป็นส่วนราชการ และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามบทนิยามคำว่า
“รัฐวิสาหกิจ” ในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ การที่กองทุน
เพื่อการฟื้นฟูฯ ถือหุ้นในธนาคารกรุงไทยฯ เกินร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด จึงไม่ทำให้ธนาคารกรุงไทยฯ
เข้าลักษณะเป็นบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (๒) ของบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ในมาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เรื่อง สถานภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามพระราชบัญญัติ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เรื่องเสร็จที่ ๓๑๐/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔
ดังนั้น ธนาคารกรุงไทยจะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ ต้องไปพิจารณาพระราชบัญญัติต่าง ๆ
ที่กำหนดบทนิยาม คำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ไว้แตกต่างกัน
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 139