Page 144 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 144
การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ พระราชบัญญัติว่าด้วยการ
กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๘
หมายเหตุเพื่ออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำชี้ขาดความเห็นแย้ง สำนวนเลขรับที่ ชย.๙๓๖/๒๕๕๙
มีข้อพิจารณาเพิ่มเติมดังนี้
๑. ตามปัญหาในคดีนี้เป็นกรณีที่การกระทำนั้นครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย
ซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิด แต่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำ
ความผิด ซึ่งในเบื้องต้นน่าจะต้องถือว่า เป็นกรณีที่ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรคสอง (เทียบเคียง
ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘/๒๕๑๐, ๘๖๑/๒๕๒๔, ๑๕๒๔๑/๒๕๕๗ เป็นต้น) แต่โดยที่กรณีนี้
ไม่ใช่กรณีที่ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้บัญญัติยกเลิกฐานความผิดเดิมไป
ทั้งฐานความผิด แต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบความผิดนั้นใหม่ จึงจำเป็นที่จะต้องนำ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓ ที่บัญญัติว่า ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ
กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
ไม่ว่าในทางใด นั้น มาพิจารณาก่อนเพื่อที่จะนำไปสู่การพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒ วรรคสอง ต่อไป
๒. ดังนั้น กรณีนี้จึงเป็นกรณีที่จำต้องพิจารณาในเนื้อหาแห่งคดีนั้นก่อนว่าเข้า
องค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่ใช่เรื่องที่
มีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้นซึ่งจะทำให้สิทธิในการนำคดีอาญา
มาฟ้องผู้ต้องหาระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๕) และเข้าเงื่อนไข
ระงับคดีตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔ (๕) (ปัจจุบันตรงกับระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ (๖))
ที่กำหนดให้พนักงานอัยการต้องมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีกับผู้ต้องหานั้นแต่อย่างใด เพราะกรณีที่มี
กฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดตามความหมายของบทกฎหมายและ
ระเบียบดังกล่าวมุ่งหมายถึงกรณีที่ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้บัญญัติ
ยกเลิกฐานความผิดเดิมไปทั้งฐานความผิดอันเป็นที่เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาว่า
เข้าองค์ประกอบความผิดหรือไม่นั้นต่อไปอีก ซึ่งสอดรับกันกับตามที่ระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕๔
วรรคหนึ่ง (ปัจจุบันตรงกับระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ วรรคหนึ่ง) กำหนดว่า “ในการพิจารณา
สำนวนการสอบสวน ให้พนักงานอัยการพิจารณาเรื่องเงื่อนไขระงับคดีก่อน...” ดังนั้น กรณีที่จำต้อง
พิจารณาในเนื้อหาแห่งคดีว่าเข้าองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม
ใหม่ดังกล่าวหรือไม่นั้นก่อน จึงเป็นเรื่องที่ต้องออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ไม่ใช่สั่งยุติการดำเนินคดี ๙
โดยสรุป เรื่องเงื่อนไขระงับคดีและการออกคำสั่งกรณีสิทธิฟ้องคดีอาญาระงับ มีพื้นฐาน
ที่มาจากบทบัญญัติเรื่องสิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา ๓๙ ประกอบกับบทบัญญัติที่ตัดหรือจำกัดอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ ตาม
มาตรา ๓๑, ๓๖ (๓), ๓๗, ๑๒๐, ๑๒๑ วรรคสอง, ๑๔๗ และมีการนำมากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ใน
ระเบียบฯ ซึ่งมีการพัฒนามาโดยลำดับ
๙ เป็นการจัดการความรู้โดยสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด ๓ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ และมีการลงพิมพ์
เผยแพร่ในอัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๔ พุทธศักราช ๒๕๖๒ หน้า ๑๗ - ๑๙
134 บทความ