Page 145 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 145

ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

                     ว่าด้วยการชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๖๑

                                                                                  พศิน  ทิพยรักษ์*


                ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับระเบียบดังกล่าว มีดังนี้
                     ๑. การชี้ขาดข้อพิพาท ต้องเป็นการชี้ขาดที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
                หรือตามสัญญาเฉพาะหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองเท่านั้น (ระเบียบ ข้อ ๓, ข้อ ๑๑)
                
    
 คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี
                มีหน้าที่และอำนาจ

                       (๑) พิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ
                       (๒) พิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้งกรณีอัยการสูงสุดเห็นควรยุติการดำเนินคดีของ
                หน่วยงานของรัฐ

                       (๓) ดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทซึ่งอยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะรัฐมนตรีหรือ
                นายกรัฐมนตรีตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
                       (๔) เสนอแนะความเห็นและแนวทางปฏิบัติในการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ
                การดำเนินคดี และเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี
                       (๕) เรียกให้คู่กรณี หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง หรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง

                จัดส่งเอกสารหรือพยานหลักฐาน จัดทำคำแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย และให้ผู้เชี่ยวชาญ
                ทำการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณา
                       (๖) วางระเบียบหรือแนวปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการตามระเบียบนี้เป็นไปโดยรวดเร็ว

                และมีประสิทธิภาพ (ระเบียบข้อ ๖)
                     ๒. หน่วยงานรัฐที่จะเสนอให้ชี้ขาดต้องเสนอข้อพิพาทไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดภายใน
                อายุความหรือกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี (ระเบียบ ข้อ ๑๒)
                     ๓. ให้อำนาจสำนักงานอัยการสูงสุดไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทได้ (ระเบียบ ข้อ ๑๕)
                     ๔. เมื่ออัยการสูงสุดได้วินิจฉัยข้อพิพาทแล้ว จะแจ้งให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายทราบความเห็น

                หากคู่กรณีไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดของอัยการสูงสุด ก็สามารถโต้แย้งความเห็นของอัยการสูงสุด
                ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ปกติให้เวลา ๓๐ วัน)
                     หากคู่กรณีเห็นชอบกับความเห็นของอัยการสูงสุด คำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดเป็นอันยุติ

                ผูกพันคู่กรณี ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของอัยการสูงสุด หากคู่กรณีไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของ
                อัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุดจะเสนอข้อพิพาทให้คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติ
                ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี (กยพ.) ชี้ขาดต่อไป (ระเบียบ ข้อ ๑๖)



                *
  อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสารสนเทศ (อดีตอธิบดีอัยการ สำนักงานการยุติการดำเนินคดีแพ่งและอนุญาโตตุลาการ)





                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  135
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150