Page 147 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 147

วางแนวทางปฏิบัติในกรณีที่คดีขาดอายุความ หน่วยงานของรัฐยืนยันให้พนักงานอัยการฟ้องคดี
                ทั้งที่เห็นแล้วว่าหากดำเนินคดีต่อไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อไปแก่ทางราชการ  เช่น เสียค่าใช้จ่าย
                เสียเวลา  เสียกำลังคน ในการปฏิบัติงานโดยเปล่าประโยชน์ หน่วยงานของรัฐไม่ควรนำคดีขาดอายุความ

                ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีเพราะมีผลทำให้การอำนวยความยุติธรรมของรัฐขาดความน่าเชื่อถือ
                     ๑๒. กรณี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นว่า
                พนักงานอัยการและสำนักงานอัยการสูงสุด ไม่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดี หรือดำเนินการใด ๆ
                ให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
                และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงาน
                ของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๖๑ เพราะหลังจากกระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้น
                ในบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แล้ว บริษัท การบินไทยจำกัด (มหาชน) ไม่มีฐานะเป็น
                หน่วยงานของรัฐอีกต่อไป ตามหนังสือที่ อส ๐๐๐๗(พก)/ว ๓๒๙ ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๓
                     ๑๓. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการบริหารจัดการข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ

                การออกระเบียบนี้ นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง (๘) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบ
                บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อวางระเบียบปฏิบัติ
                ราชการในกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน
                ระเบียบดังกล่าวนี้จึงมีฐานะเป็นกฎที่มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตาม หน่วยงาน
                ของรัฐที่มีข้อพิพาทระหว่างกัน จึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองทันทีไม่ได้ ต้องเสนอข้อพิพาทไปยัง
                สำนักงานอัยการสูงสุดภายในอายุความหรือกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี หากมีการฟ้องคดีปกครอง
                ศาลปกครองไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการแก้ไขความเดือดร้อน

                หรือเสียหายที่มีกฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะ
                ตามแนวคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๙๐/๒๕๖๓
                     ๑๔. คำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ  เรื่องเสร็จที่  ๑๓๙๗/๒๕๖๓
                เรื่อง สถานภาพของกองทุนเพื่อฟื้นฟูและพิจารณาระบบสถาบันการเงินและธนาคารกรุงไทย จำกัด
                (มหาชน)
                     เดิมคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้วินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ ๔๘๗/๒๕๓๑ กองทุนฟื้นฟูมีสถานภาพ
                เป็นรัฐวิสาหกิจตามมาตร ๔ แห่ง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ ต่อมามีคำวินิจฉัยที่
                ๒๗๓/๒๕๔๓ วินิจฉัยยืนตามหลักเดิม
                     ต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกา ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้วินิจฉัยว่า กองทุนฟื้นฟูไม่เป็นองค์การ

                ของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐ และไม่เป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาล
                เป็นเจ้าของ ดังนั้น กองทุนฟื้นฟูจึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (๑) แห่งบทนิยาม คำว่า “รัฐวิสาหกิจ”
                ตามมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งหากจะเป็นหน่วยงานของรัฐจะต้องขอรับ
                หรือได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น เมื่อปรากฏว่ากองทุนฟื้นฟู ถือหุ้น ๕๕.๐๗ เปอร์เซ็นต์
                ของหุ้นทั้งหมดของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จึงไม่เป็น
                รัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เท่านั้น ส่วนจะเป็น
                รัฐวิสาหกิจหรือเป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้วินิจฉัย

                ถึงเรื่องดังกล่าวไว้




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  137
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152