Page 93 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๓๕๖/๒๕๖๓
ป.อ. ริบทรัพย์สิน (มาตรา ๓๓ (๑))
การที่จำเลยกับพวกถึง ๘ คน ร่วมกันเดินทางไปที่บ้านเกิดเหตุด้วยรถยนต์กระบะคันเดียว
โดยมีอาวุธปืน ลูกระเบิดและมีดดาบแล้วปล้นทรัพย์เอาแผ่นยางพาราซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนใหญ่
ที่บ้านดังกล่าวบ่งชี้ว่า มีการเตรียมการใช้รถยนต์กระบะดังกล่าวไปกระทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
แผ่นยางพาราที่จำเลยกับพวกขนขึ้นรถมีปริมาณมากถึง ๖๕๐ แผ่น น้ำหนักรวมกันถึง
๗๐๐ กิโลกรัม โดยสภาพย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่จะขนได้โดยง่าย โดยไม่ใช้รถยนต์บรรทุกไป
ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยกับพวกเจตนาที่จะใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นเครื่องมือปล้นทรัพย์
รถยนต์กระบะของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยกับพวกใช้ในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
อันพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ (๑)
______________________________
พนักงานอัยการจังหวัดตรัง โจทก์
{
ระหว่าง นาย ธ. โจทก์ร่วม
นาย ส. จำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกที่หลบหนียังไม่ได้ตัวมาฟ้องให้ลงโทษในเรื่องความผิดฐานปล้นทรัพย์
ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓, ๘๓, ๙๑, ๓๔๐,
๓๔๐ ตรี พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๔, ๖, ๗, ๓๘, ๕๕, ๗๒, ๗๒ ทวิ, ๗๔, ๗๘ ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์
และริบของกลาง
จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๔๐ วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา ๓๔๐ ตรี พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๕๕, ๗๘ วรรคหนึ่งและวรรคสาม
ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วย
กับฐานร่วมกันมีและใช้วัตถุระเบิดในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นกรรมเดียวเป็นความ
ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันใช้วัตถุระเบิดในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ จำคุกตลอดชีวิต
จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ ประกอบมาตรา ๕๓ คงจำคุก ๒๕ ปี ระหว่างพิจารณา
โจทก์ร่วม ผู้เสียหายที่ ๓ และที่ ๔ ยื่นคำแถลงว่าไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยอีกต่อไป
จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนทรัพย์หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่โจทก์ร่วม ผู้เสียหายที่ ๓ และที่ ๔
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 83