Page 96 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 96
สมุดเงินฝากธนาคาร ๕ เล่ม เป็นของกลาง โพยบัญชีรายชื่อลูกค้าเจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้
ส่วนสมุดเงินฝากธนาคาร โจทก์แจ้งให้พนักงานสอบสวนจัดการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา ๘๕ แล้ว ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓, ๘๓, ๙๑ ริบโพยบัญชีรายชื่อลูกค้า
ของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ข้อ ๑.๑ แต่ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ข้อ ๑.๒
ถึงข้อ ๑.๑๖
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียก
ดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ (ก) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ จำคุก
คนละ ๑ ปี ทางพิจารณาของจำเลยทั้งสองเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษ
ให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุกคนละ ๘ เดือน ริบโพยบัญชี
รายชื่อลูกค้าของกลาง
โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติ
ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ (ก) และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกิน
อัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ (๑) แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ย
เกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ (ก) สำหรับการกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
ถึงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๐ และให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ย
เกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ (๑) สำหรับการกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๐
ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ จำคุกจำเลยทั้งสอง
กระทงละ ๓ เดือน รวม ๑๖ กระทง รวมจำคุกคนละ ๔๘ เดือน เมื่อลดโทษให้คนละหนึ่งในสาม
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ แล้ว คงจำคุกคนละ ๓๒ เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไป
ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้
ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นฟังไม่ขึ้น ส่วนฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า การที่
ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ (ก) โดยที่โจทก์ไม่ได้อ้างมาในคำฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้
กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง นั้น เห็นว่า
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ (ก) และพระราชบัญญัติห้าม
เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ (๑) บัญญัติให้การให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยคิด
ดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดยังคงเป็นความผิด เพียงแต่พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอก
เบี้ยเกินอัตราฉบับใหม่แก้ไขบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสอง
ยังคงเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิม เพียงแต่กฎหมายใหม่มีระวางโทษหนักกว่า
86 คำพิพากษาศาลฎีกา