Page 100 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 100

๕,๐๐๐ บาท แล้วจำเลยได้มอบสมุดบัญชีและบัตรเอทีเอ็มให้นางสาว ช. ไปนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าว
          ย่อมใช้ยันจำเลยได้ ซึ่งเมื่อฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์แล้วฟังได้ว่า จำเลยมีส่วน
          เกี่ยวข้องกับผู้กระทำความผิดโดยการรับจ้างเปิดบัญชีเพื่อแลกกับผลตอบแทนรูปแบบหนึ่ง

          จำเลยย่อมตั้งข้อสงสัยแต่แรกว่าเพราะเหตุใดนางสาว ช. จึงไม่เปิดบัญชีเงินฝากด้วยตนเอง
          บัญชีเงินฝากดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้ในเรื่องที่ผิดกฎหมาย โดยนำเงินผ่านบัญชีเงินฝากของตน
          เพื่อให้ตามจับตัวคนร้ายและที่มาของเงินได้ยากขึ้น การยอมเปิดบัญซีเงินฝากให้จึงเหมือนเป็น
          การก่ออาชญากรรมทางอ้อมอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด
          ก่อนหรือขณะกระทำความผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีคนร้ายหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงิน
          ผ่านบัญชีเงินฝากของจำเลยและได้ถอนเงินออกจากบัญชี  อันเป็นการฉ้อโกงผู้เสียหาย
          จำเลยจึงต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
          มาตรา ๘๖ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของ
          จำเลยฟังไม่ขึ้น

                พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ (เดิม)
          ประกอบมาตรา ๘๖ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๒.

                                                                        สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสารสนเทศ
                                                             สำนักงานวิชาการ






          หมายเหตุ
                การสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๖ นอกจาก
          ผู้กระทำผิดจะกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น
          กระทำความผิดแล้ว ผู้สนับสนุนจะต้องมีเจตนาที่จะช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น
          กระทำความผิดนั้นด้วย คือต้องรู้ว่าผู้ที่ตนช่วยเหลือสนับสนุนกำลังจะกระทำความผิด หากไม่รู้
                                                  ๑
          ย่อมไม่เป็นการสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิด  โดยเจตนาที่จะช่วยเหลือนี้ อาจเป็นประสงค์ต่อ
                              ๒
          ผล หรือเล็งเห็นผลก็ได้  ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ การที่จะถือว่าบุคคลใด
          มีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลนั้น บุคคลนั้นต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ
          ของความผิดนั้น และนอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๒ วรรคท้าย หากผู้กระทำผิด


          ๑ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๔๘/๒๕๒๕ จำเลยขับเรือรับผู้โดยสารไปยังที่เกิดเหตุโดยไม่ทราบว่าเป็นคนร้ายจะไปฆ่าผู้ตาย
           หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยจำต้องขับเรือไปส่งคนร้ายด้วยความจำเป็น เพราะอยู่ภายใต้อำนาจของคนร้ายซึ่งจำเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยง
           หรือขัดขืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๗ (๑) เมื่อส่งคนร้ายแล้วก็ไปแจ้งความแก่ผู้ใหญ่บ้านทันทีดังนี้ จำเลยไม่ต้องรับโทษ
          ๒  เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ๊นติ้ง,
           ๒๕๕๑) หน้า ๖๘๔.



              90    คำพิพากษาศาลฎีกา
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105