Page 105 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 105
จำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ พักใช้ใบอนุญาตขับขี่
(ที่ถูก ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ฉบับที่ ๖๐๐๐๗๗๐๑) มีกำหนด ๖ เดือน
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุ
ให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๒),
๑๖๐ ตรี วรรคสาม ให้จำคุก ๒ ปี และปรับ ๔๐,๐๐๐ บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็น
ประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่ง
คงจำคุก ๑ ปี และปรับ ๒๐,๐๐๐ บาท ยกคำพิพากษา (ที่ถูกคำพิพากษาศาลชั้นต้น) ที่ให้พักใช้
ใบอนุญาตขับขี่ (ที่ถูกใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ฉบับที่ ๖๐๐๐๗๗๐๑) มีกำหนด ๖ เดือน
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้พักใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์
ส่วนบุคคลชั่วคราว ฉบับที่ ๖๐๐๐๗๗๐๑ ของจำเลย มีกำหนด ๖ เดือน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โดยโจทก์ฎีกาว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๖๐ ตรี วรรคสาม กำหนดให้
ศาลเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยโดยกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดให้พักใช้หรือเพิกถอน
เฉพาะใบอนุญาตขับขี่ชนิดเดียวกันกับรถที่จำเลยขับในขณะเกิดเหตุ ทั้งนี้กฎหมายมีวัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันมิให้จำเลยมีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายที่กระทบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ที่ร่วมกันใช้รถและทางสาธารณะเดียวกันกับจำเลยไม่ว่าจะเป็นการขับรถประเภทใดก็ตาม ศาลฎีกา
โดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ตาม
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นี้ แม้มิใช่โทษที่ใช้สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘ หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา ๓๙ ก็ตาม แต่ก็
มีบทบังคับเช่นเดียวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วยเจตนาคุ้มครองประชาชนหรือสังคม
เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ไปขับขี่รถยนต์หรือ
รถจักรยานยนต์ในกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นอีกตามความมุ่งหมายและเจตนารมณ์
ของกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของ
ผู้กระทำความผิด การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่จึงเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่มีความสำคัญเพื่อ
ป้องปรามมิให้ผู้ขับขี่กลับไปกระทำความผิดในช่วงระยะเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาต ทั้งตาม
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔ (๑๕) ให้คำนิยามคำว่า รถ หมายถึง
ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง ดังนั้นรถจักรยานยนต์และรถยนต์จึงอยู่ใน
ความหมายของคำว่า รถ ด้วย ซึ่งการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่จะอยู่ใน
ลักษณะ ๑๙ บทกำหนดโทษดังเช่นมาตรา ๑๕๗/๑, ๑๖๐ ทวิ, ๑๖๐ ตรี โดยมิได้กล่าวถึงการขับขี่
ยานพาหนะชนิดหนึ่งชนิดใดแล้วให้ศาลมีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะที่เกี่ยวข้องหรือ
ชนิดนั้นไว้โดยเฉพาะ แต่เป็นการกล่าวถึงการขับขี่ยานพาหนะที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิด
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 95