Page 102 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 102

เป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งมิได้มีโทษหนักมากเท่านั้น บุคคลผู้เปิดบัญชีธนาคาร
          ย่อมไม่อาจเล็งเห็นได้ว่าบัญชีนี้จะถูกนำไปใช้ในความผิดอื่นที่มีโทษหนัก เช่น นำไปใช้รับโอนเงินค่าจ้าง
                                                                                   ๕
          ในการฆ่าคน รับโอนเงินของขบวนการก่อการร้าย หรือรับโอนเงินค่าจำหน่ายยาเสพติด  อันเป็น
          ความผิดที่มีโทษหนักถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตได้ ทั้งนี้ เพราะโดยวิญญูชนทั่วไป
          หากเล็งเห็นได้ว่าตนอาจจะได้รับโทษหนักมากขนาดนั้นแล้ว วิญญูชนคงไม่ยอมรับเงินจำนวน
          เพียงเล็กน้อยเป็นค่าตอบแทนเป็นแน่ ดังนั้น หากเป็นกรณีการรับจ้างเปิดบัญชีธนาคารในความผิด
          ฐานอื่นที่มีโทษหนักนอกเหนือจากความผิดเกี่ยวกับทรัพย์พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ
          โจทก์จึงควรต้องแสวงหาพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติมเพื่อแสดงให้ศาลเชื่อว่าจำเลยมีเจตนาสนับสนุน
          การกระทำความผิดนั้นด้วย


          











































































 เอกกมล  บำรุงพงศ์



































          ๕ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๒๐/๒๕๖๓ การที่จะถือว่าเป็นผู้สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
           ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง (๑) นั้น
           ผู้กระทำต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลในการสนับสนุนหรือช่วยเหลือด้วย การกระทำแม้มีผลเป็นการช่วยเหลือ
           หรือสนับสนุนผู้อื่นในการกระทำความผิด แต่ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลเช่นนั้นก็จะถือว่าเป็นผู้ช่วยเหลือ
           หรือสนับสนุนตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงการที่จำเลยทั้งสองได้เปิดบัญชีเงินฝากและมอบบัตรเบิกถอน
           เงินสดของตนให้แก่ผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยยังไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยทั้งสองรู้ว่าผู้อื่นนั้นเป็น
           ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเป็นการเปิดบัญชีเงินฝากของตนเพื่อรับโอนเงินจากการซื้อยาเสพติด กรณีจึงต้อง
           ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสอง




              92    คำพิพากษาศาลฎีกา
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107