Page 99 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 99

ของจำเลย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๒๖๕, ๒๖๘, ๓๔๑, ๓๔๒
                พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓, ๑๔

                ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงิน ๑๖๒,๐๐๐ บาท แก่ผู้เสียหาย
                     จำเลยให้การปฏิเสธ
                     ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า  จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
                มาตรา ๓๔๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๖ จำคุก ๑ ปี ทางพิจารณาของจำเลยเป็นประโยชน์แก่
                การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ ให้หนึ่งในสาม
                คงจำคุก ๘ เดือน กับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายเป็นเงิน ๑๖๒,๐๐๐ บาท
                (ที่ถูก ข้อหาอื่นให้ยก)
                     จำเลยอุทธรณ์
                     ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

                มาตรา ๓๔๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
                     จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
                ในปัญหาข้อเท็จจริง
                     มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยเป็นตัวการร่วมในการกระทำความผิดฐาน
                ฉ้อโกงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค  ๒ หรือไม่ โจทก์มีผู้เสียหายเป็นพยานเบิกความว่า
                ช่วงประมาณกลางปี ๒๕๕๙ มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อนายคริสเตียน จาคอบ์ ออสเตรีย ส่งข้อความมาพูดคุย
                กับผู้เสียหายว่าเป็นทหารอยู่ที่ประเทศแอฟริกา สถานะเป็นหม้ายต้องการเป็นเพื่อนกับผู้เสียหาย

                และต้องการใช้ชีวิตที่ประเทศไทยหลังจากปลดประจำการ ต่อมานายคริสเตียนแจ้งว่าจะส่งเงิน
                สกุลดอลลาร์มาฝากไว้กับผู้เสียหาย ซึ่งผู้เสียหายสามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ได้ แต่ขอให้ผู้เสียหาย
                จ่ายค่าภาษี ๓๗,๐๐๐ บาท ค่าเคลียร์สินค้า ๑๒๕,๐๐๐ บาท และค่าประกันสินค้า ๒๗๐,๐๐๐ บาท
                พร้อมกับส่งใบรับสินค้าเอกสารหมาย จ.๒ ให้ดูอ้างว่าเป็นเอกสารของศุลกากรไทย ผู้เสียหายเชื่อว่า
                เป็นเอกสารที่แท้จริง เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ มีผู้หญิงโทรศัพท์มาหาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่
                กรมศุลกากร แจ้งว่ามีการส่งเงินสกุลดอลลาร์ถึงผู้เสียหาย  แต่ผู้เสียหายต้องโอนเงินค่าภาษี
                ๓๗,๐๐๐ บาท เข้าบัญชีเงินฝากจำเลย ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากจำเลย
                ต่อมาวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ผู้หญิงคนเดิมโทรศัพท์แจ้งให้ผู้เสียหายโอนเงินอีก ๑๒๕,๐๐๐ บาท
                อ้างว่าจะนำไปมอบให้หัวหน้า เพื่อปล่อยเงินดอลลาร์ออกมา ผู้เสียหายจึงโอนเงินจากบัญชีธนาคาร

                ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เข้าบัญชีจำเลย ตามรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีเอกสารหมาย จ.๕
                และ จ.๖ หลังจากนั้นผู้หญิงคนดังกล่าวโทรศัพท์แจ้งว่าผู้เสียหายต้องโอนเงินอีก ๒๗๐,๐๐๐ บาท
                จึงจะนำเงินดอลลาร์ออกได้ ผู้เสียหายไปปรึกษากับหลานเพื่อขอยืมเงินจึงทราบว่าถูกหลอกลวง
                เห็นว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้เพียงว่า จำเลยเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากที่ผู้เสียหาย
                โอนเงินผ่านบัญชีและมีผู้เบิกถอนเงินดังกล่าวไปเท่านั้น ส่วนพฤติกรรมในการหลอกลวงให้
                ผู้เสียหายหลงเชื่อและยอมโอนเงินให้ รวมถึงการถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจำเลยนั้น
                ไม่ปรากฏหลักฐานเชื่อมโยงถึงจำเลย ลำพังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้ถึงขนาดว่าจำเลย

                เป็นตัวการร่วมในการกระทำความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัย แต่ที่จำเลยอ้างตนเอง
                เป็นพยานเบิกความรับว่า นางสาว ช. ให้จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อแลกกับการให้จำเลยกู้ยืมเงิน



                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  89
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104