Page 88 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 88

ปริมาณแอลกอฮอล์ตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสาม การฝ่าฝืนคำสั่งในมาตรา ๑๔๒ วรรคสอง
          ไม่มีบทสันนิษฐานความผิดและไม่มีบทกำหนดโทษอยู่ในมาตราอื่นของพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ
          นอกจากบทกำหนดโทษในมาตรา  ๑๕๔  (๓)  จึงเข้าเงื่อนไขในวรรคสองของมาตรา  ๑๕๔
          ที่ว่า “ถ้าไม่เป็นความผิดที่กำหนดโทษไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับครั้งละ
          ไม่เกินหนึ่งพันบาท” จึงสามารถลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ
          เจ้าพนักงานจราจรตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสอง และ ๑๕๔ (๓) ได้ แตกต่างจากการฝ่าฝืนคำสั่งใน
          มาตรา ๑๔๒ วรรคสาม ซึ่งมีบทสันนิษฐานความผิดตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสี่ ไว้ก่อนเป็นการเฉพาะ
          ว่าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๒) (ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น) และมีบทกำหนดโทษอยู่
          ในมาตรา ๑๖๐ ตรี วรรคหนึ่งแล้ว ดังนั้น การฝ่าฝืนคำสั่งในมาตรา ๑๔๒ วรรคสาม ที่ต้องด้วย
          บทสันนิษฐานความผิดว่าได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๒) จึงมิได้เป็นการกระทำกรรมเดียวกับ
          การฝ่าฝืนคำสั่งในมาตรา ๑๔๒ วรรคสอง หากแต่เป็นการกระทำที่ต่างกรรมกัน ซึ่งในแต่ละกรรม
          ก็มีฐานความผิดและบทกำหนดโทษที่แยกไว้ต่างหาก อย่างไรก็ดี การที่ผู้ขับขี่ฝ่าฝืนคำสั่งของ
          เจ้าพนักงานจราจรตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสองนั้น ก็มีข้อยกเว้นให้ไม่ต้องดำเนินคดีได้อยู่หนึ่งกรณี
          คือเมื่อต่อมาผู้ขับขี่ยอมให้ทดสอบตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสาม แล้วผลการทดสอบปรากฏว่าไม่ได้
          ฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๑) หรือ (๒) กรณีเช่นนี้ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที
                มีข้อควรสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ทำนองว่า กรณีของการฝ่าฝืน
          คำสั่งเจ้าพนักงานจราจรโดยไม่ยอมให้ทดสอบตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์นั้นได้มีบทบัญญัติ
          ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๔๒ วรรคสอง, ๑๕๔ (๓)
          ไว้เป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง
          ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ อันเป็น
          “บทเฉพาะ” (ระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง
          อันเป็น “บททั่วไป” (ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
          ผลของคำพิพากษาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการวินิจฉัยโดยไม่ใช้หลักเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลาย
          บท ลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ แต่เป็นเรื่องที่ศาลฎีกาได้นำหลักเรื่อง
                                   ๖
          “บทเฉพาะ”และ “บททั่วไป”  มาใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้ โดยหากการกระทำของจำเลยเป็นความผิด
          ทั้งบทเฉพาะและบททั่วไป ศาลก็ลงโทษจำเลยตามบทเฉพาะ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าโทษจะหนัก
          หรือเบากว่าบททั่วไป เพราะหากใช้หลักในมาตรา ๙๐ แล้ว หากบทเฉพาะมีโทษเบากว่าบททั่วไป
          ก็ไม่มีทางจะใช้บทเฉพาะลงโทษเลย ๗
          

    มีข้อควรสังเกตประการต่อไปว่าการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรที่กล่าวมาข้างต้น
          ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๔๒ วรรคสอง, ๑๕๔ (๓)
          อันเป็นบทเฉพาะ ย่อมเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
          มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่งอันเป็นบททั่วไปด้วย ซึ่งการกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดทั้งบทเฉพาะ
          และบททั่วไปเช่นนี้ ศาลฎีกามักใช้ถ้อยคำในคำพิพากษาหลายเรื่องไว้ทำนองว่า เมื่อเป็นความผิด
          ตามบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบททั่วไปลงโทษอีก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๕๙/๒๕๑๘,

          ๖  เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๑, พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย) (พิมพ์ครั้งที่ ๑๐) หน้า ๗๗๐ - ๗๗๑
          ๗ 
ดู จรัญ ภักดีธนากุล ในบันทึกท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๗๕/๒๕๒๙ ซึ่งอธิบายหลักในเรื่องนี้ไว้ ; และดูจิตติ ติงศภัทิย์,
           กฎหมายอาญา ภาค ๑, น. ๖๑๓ หัวข้อ ๒๐๒ ซึ่งกล่าวว่า “การกระทำนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายดังกล่าวนั้นทุกบท...
           แต่กฎหมายไม่ให้ถือหลักที่ว่า กรณีเหล่านี้เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามบทที่หนัก (ตามมาตรา ๙๐) หากให้ถือ
           ตามบทเฉพาะซึ่งอาจมีโทษเบากว่า (บททั่วไป) ก็ได้”



              78    คำพิพากษาศาลฎีกา
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93