Page 85 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 85
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๒), ๑๔๒ วรรคสอง, ๑๕๔ (๓), ๑๖๐ ตรี วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทง
ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ฐานขับรถในขณะเมาสุรา จำคุก ๑๔ วัน
ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ ปรับ ๒,๐๐๐ บท รวมจำคุก ๑๔ วัน ปรับ ๒,๐๐๐ บท
ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุก ๗ วัน ปรับ ๑,๐๐๐ บาท
โทษจำคุก ให้เปลี่ยนเป็นกักขังแทน ๗ วัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๓ ไม่ชำระค่าปรับ
ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓o
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษาแก้เป็นว่า ในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราไม่เปลี่ยน
โทษจำคุกเป็นกักขัง และให้ลงโทษปรับ ๑๕,๐๐๐ บาท อีกสถานหนึ่ง เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่ง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ แล้ว คงปรับ ๗,๕๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้
๒ ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ให้จำเลยฟัง โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ
ทุก ๓ เดือนต่อครั้ง ภายในกำหนดระยะเวลา ๑ ปี ให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้ประสบภัยจากจราจรไม่ต่ำกว่า ๒๔ ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ หากจำเลย
ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ ให้ยกฟ้องข้อหาไม่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไป
ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในปัญหา
ข้อกฎหมายประการแรกว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยไม่ยอมให้ทดสอบว่าหย่อนความสามารถ
ในอันที่จะขับหรือเมาสุราด้วยวิธีการตรวจวัดลมหายใจของพนักงานจราจรนั้นเป็นการไม่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ซึ่งบัญญัติไว้
เป็นพิเศษในมาตรา ๑๔๒ วรรคสอง ความว่า เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานสอบสวนหรือ
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืน
มาตรา ๔๓ (๑) หรือ (๒) ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้
มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
หรือไม่ ซึ่งหากฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้จะมีส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษในมาตรา ๑๕๔ (๓) โดยระวางโทษ
ปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท จึงเห็นได้ว่า การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นนี้ พระราชบัญญัติจรจรทางบกฯ
กำหนดโทษไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษแล้ว ดังนั้น กรณีจึงไม่เป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
ตามความหมายของมาตรา ๓๖๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา อันเป็นบทกฎหมายทั่วไป
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 75