Page 83 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 83

พาผู้เสียหายที่ ๒ ไปร่วมประเวณีที่ห้องน้ำของโรงเรียน แล้วบอกให้ผู้เสียหายที่ ๒ รออยู่ที่ห้องน้ำ
                จากนั้น จำเลยทั้งสามกับพวกเข้าไปกระทำชำเราผู้เสียหายที่ ๒ ในห้องน้ำซึ่งเป็นสถานที่เดียวกัน
                ในลักษณะต่อเนื่องกันในเวลาใกล้ชิดติดต่อกัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยแต่ละคนกับพวกต้องรู้กันและ

                ตกลงกันในขณะที่นั่งรอนาย ว. ว่าผู้ใดจะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ ๒ ก่อนหลังเพื่อไม่ให้ผู้เสียหายที่ ๒
                มีโอกาสตั้งตัวและหลบหนีหรือขัดขืนได้ แล้วเข้าไปกระทำชำเราผู้เสียหายที่ ๒ ในห้องน้ำทันที
                แม้ไม่มีจำเลยอื่นหรือบุคคลใดเข้าช่วยเหลือสนับสนุนหรือให้ความสะดวกให้มีการกระทำชำเรา
                ผู้เสียหายที่ ๒ แต่มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสามกับพวกแต่ละคนจะไม่ได้วางแผนร่วมกัน
                กระทำชำเราผู้เสียหายที่ ๒ เพราะจำเลยทั้งสามกับพวกแต่ละคนได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ ๒
                ครบทุกคน การกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวกจึงเป็นการกระทำชำเราผู้เสียหายที่ ๒ ด้วยกันอันมี
                ลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ วินิจฉัยมานั้น
                ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น
                     มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อต่อไปว่า การกระทำของจำเลยทั้งสาม

                เป็นการร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารหรือไม่ โดยจำเลย
                ทั้งสามฎีกาว่า จำเลยทั้งสามไม่มีส่วนร่วมพาผู้เสียหายที่ ๒ ไปยังที่เกิดเหตุการกระทำชำเรา
                ของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังจากมีการพรากผู้เสียหายที่ ๒ สำเร็จแล้วนั้น เห็นว่า ความผิดฐาน
                พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจาร
                ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๗ วรรคสาม มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองอำนาจของ
                บิดา มารดา  ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก อันไม่ใช่ตัวเด็กที่ถูกพราก และปกป้องมิให้ผู้ใดมาก่อการ
                รบกวนหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครอง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย

                แม้เด็กจะไปอยู่ที่แห่งใด หากบิดามารดา ผู้ดูแล หรือผู้ปกครองยังดูแลเอาใจใส่อยู่ เด็กย่อมอยู่ใน
                อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตลอดเวลาโดยไม่ขาดตอน ทั้งเป็น
                การลงโทษผู้ที่ละเมิดต่ออำนาจปกครองดูแลเด็กของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลด้วย
                เมื่อจำเลยทั้งสามกระทำชำเราผู้เสียหายที่ ๒ ในห้องน้ำต่อเนื่องกันหลังจากที่นาย ว. ร่วมประเวณี
                กับผู้เสียหายที่ ๒ แล้วแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามไม่ยอมให้ผู้เสียหายที่ ๒ ออกจากห้องน้ำ
                แม้เป็นเพียงชั่วคราว ก็ทำให้อำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ ๑ ซึ่งเป็นมารดาถูกตัดขาด
                พรากไปแล้วโดยปริยาย  หาใช่จะต้องร่วมกันพาผู้เสียหายที่  ๒  มายังที่เกิดเหตุถึงจะทำให้
                ความปกครองถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนแล้วจึงเป็นความผิด ดังนี้ เมื่อผู้เสียหายที่ ๒
                ออกจากบ้านแล้วถูกจำเลยทั้งสามกับพวกกระทำชำเรา ถือได้ว่าเป็นการพาและแยกเด็กไปจาก

                ความปกครองดูแลและล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่  ๑ ซึ่งเป็นมารดาอันเป็น
                ความหมายของคำว่าพรากแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานรวมกันพรากเด็ก
                อายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร  ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ วินิจฉัยมานั้น
                ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
                     พิพากษายืน.

                                                                             สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสารสนเทศ

                                                                  สำนักงานวิชาการ



                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  73
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88