Page 78 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 78

ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับ ๒๐,๐๐๐ บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง
          ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ แล้ว คงปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้
          มีกำหนด ๒ ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง และให้คุมความประพฤติของจำเลย

          โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก ๔ เดือนต่อครั้ง มีกำหนด ๑ ปี กับให้จำเลย
          กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด
          ๒๐ ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวล
          กฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

                                                            สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสารสนเทศ

                                                                        สำนักงานวิชาการ


          หมายเหตุ
                คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่บันทึกภาพเคลื่อนไหวอวัยวะภายใน

          กระโปรงขณะที่ผู้เสียหายถอดกางเกงในตอนอยู่ในห้องน้ำห้างสรรพสินค้า ซึ่งศาลฎีกาได้พิพากษา
          ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๘
          และฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแก หรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย
          หรือเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถาน ตามมาตรา ๓๙๗
                องค์ประกอบความผิดฐานกระทำอนาจาร มีดังนี้
                (๑) องค์ประกอบภายใน ได้แก่ เจตนา

                (๒) องค์ประกอบภายนอก ได้แก่
                  ๒.๑)  ผู้ใด
                  ๒.๒)  กระทำอนาจาร
                        ก.  โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือ

                        ข.  โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ
                        ค.  โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือ
                        ง.  โดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น
                  ๒.๓) แก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
                คำว่า “อนาจาร” หมายถึง การกระทำไม่สมควรในทางเพศ โดยเดิมศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
          เป็นการกระทำต่อเนื้อตัวของบุคคลโดยตรง เช่น กอดปล้ำ หอมแก้ม จับหน้าอกหญิง เป็นต้น

          โดยอาจเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวของผู้เสียหาย หรืออาจให้ผู้เสียหายกระทำต่อเนื้อตัวของผู้กระทำ
          ก็ได้   (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๔๕/๒๕๓๗, ๔๘๓๖/๒๕๔๗)
              ๑


          ๑  เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, กฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม ๒, (พิมพ์ครั้งที่ ๕) แก้ไขเพิ่มเติม, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พลสยาม
           พริ้นท์ติ้ง (ประเทศไทย), พฤศจิกายน ๒๕๕๐), หน้า ๓๒๓.



              68    คำพิพากษาศาลฎีกา
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83