Page 80 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 80
ที่เกิดเหตุจึงยังคงเป็นสาธารณสถาน ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐาน
กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแก หรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย
หรือเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถานตาม ป.อ. มาตรา ๓๙๗”
อนึ่ง นอกจากการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามมาตรา ๒๗๘
แล้ว ยังเป็นความผิดฐานรังแก ข่มเหง คุกคาม กระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อน
รำคาญ ตามมาตรา ๓๙๗ วรรคหนึ่ง อีกด้วย ซึ่งมีองค์ประกอบความผิด ดังนี้
(๑) องค์ประกอบภายใน ได้แก่ เจตนา
(๒) องค์ประกอบภายนอก ได้แก่
๒.๑) ผู้ใด
๒.๒) กระทำ
ก. รังแก
ข. ข่มเหง
ค. คุกคาม
ง. กระทำให้ได้รับความอับอาย
จ. กระทำให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ
๒.๓) ผู้อื่น
๕
ทั้งนี้ หากเป็นการกระทำในที่สาธารณสถาน (เช่น ในห้องน้ำห้างสรรพสินค้าตาม
คำพิพากษาศาลฎีกานี้ เป็นต้น) หรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทาง
ที่จะล่วงเกินทางเพศ ผู้กระทำต้องได้รับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา ๓๙๗ วรรคสอง และหากเป็น
การกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะ
ที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ผู้กระทำต้องได้รับโทษหนักขึ้น
ตามมาตรา ๓๙๗ วรรคสาม อีกด้วย
รวินท์ ชัยภิวัตรภักดี
๕ ตามมาตรา ๑ (๓) สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
70 คำพิพากษาศาลฎีกา