Page 75 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 75

จำเลยอุทธรณ์
                     ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องและยกคำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายที่ ๒

                     โจทก์ฎีกา
                     ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว  ข้อเท็จจริงรับฟังได้เบื้องต้นว่า  เมื่อวันที่
                ๒๔ กันยายน ๒๕๕๒ ผู้เสียหายที่ ๑ เช่าซื้อรถยนต์จากผู้เสียหายที่ ๒ ในราคา ๕๗๔,๗๖๖.๓๖ บาท
                ชำระงวดแรก ๑๖๑,๓๖๕.๔๒ บาท คงเหลือเงินที่ต้องชำระรวมค่าธรรมเนียมเช่าซื้อ ๔๗๕,๔๕๘ บาท
                ตกลงผ่อนชำระ ๖๐ เดือนๆ ละ ๘,๔๗๙ บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ผู้เสียหายที่ ๑ ผ่อนชำระมาบางส่วน
                คงค้างชำระ ๑๑ เดือน ต่อมาผู้เสียหายที่ ๒ ฟ้องบังคับชำระหนี้ที่ศาลจังหวัดน่าน วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๘

                ผู้เสียหายที่ ๑ จึงไปกู้ยืมเงินกับคนร้าย ๗๐,๐๐๐ บาท โดยมอบรถที่เช่าซื้อพร้อมกุญแจและ
                รีโมทคอนโทรลให้คนร้ายยึดถือไว้ วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ ผู้เสียหายที่ ๑ เดินทางไปเจรจากับ
                ผู้เสียหายที่ ๒ ที่ศาลจังหวัดน่าน จนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน หลังจากนั้น
                ผู้เสียหายที่ ๑ พยายามติดตามรถคืนจากคนร้ายแต่ไม่สามารถติดตามรถคืนได้ วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๙
                ผู้เสียหายที่ ๑ จึงร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่คนร้าย

                     มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ผู้เสียหายที่ ๑
                เป็นผู้เช่าซื้อรถย่อมมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์รถ ทั้งมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถคืนให้แก่
                ผู้เสียหายที่ ๒ หากมีกรณีต้องส่งมอบคืน การที่คนร้ายยักยอกรถไปย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ ๑
                ได้รับความเสียหาย แม้การนำรถไปให้คนร้ายยึดถือไว้ประกันการกู้ยืมเงินจะเป็นการผิดข้อตกลงกับ
                ผู้เสียหายที่ ๒ แต่ก็ไม่ทำให้ผู้เสียหายที่ ๑ หลุดพ้นหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถที่มีต่อผู้เสียหายที่ ๒
                แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาจำนวนเงินที่ผู้เสียหายที่ ๑ กู้ไปจากคนร้ายเปรียบเทียบกับจำนวนเงิน

                ที่ผู้เสียหายที่ ๑ ผ่อนชำระมาแล้ว ถือว่าจำนวนเงินที่กู้ยืมไม่มาก และการที่ผู้เสียหายที่ ๑
                ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายที่ ๒ โดยประสงค์จะผ่อนชำระและครอบครอง
                ใช้ประโยชน์รถต่อ ประกอบกับพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายที่ ๑ กลับมาติดตามรถจากคนร้ายคืน
                แสดงให้เห็นว่า ผู้เสียหายที่ ๑ ไม่ได้มีเจตนาเบียดบังรถไปเป็นของตนหรือคนร้ายโดยทุจริต

                และไม่ได้ยินยอมหรือมีส่วนร่วมให้คนร้ายยักยอกรถไป ผู้เสียหายที่ ๑ จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
                การร้องทุกข์และการสอบสวนชอบแล้ว พนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง ตามประมวลกฎหมาย
                วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒๐ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
                ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
                     ปัญหาว่าจำเลยเป็นคนร้ายกระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยมา
                เห็นควรวินิจฉัยไปในคราวเดียวกันโดยไม่ต้องย้อนสำนวน  ได้ความจากคำเบิกความของ

                ผู้เสียหายที่ ๑ ว่า วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๘ พยานนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปวางเป็นประกันการกู้ยืมเงิน
                ที่เต็นท์รถปากซอยสุขุมวิท ๖๒ เพราะต้องการเงินเดินทางไปเจรจากับผู้เสียหายที่ ๒ ที่ศาลจังหวัดน่าน
                แต่พนักงานบอกไม่ผ่าน ต่อมาวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๘ เวลาประมาณ ๑๗ นาฬิกา พนักงาน
                ของเต็นท์รถเป็นผู้หญิงโทรศัพท์มาหาพยานบอกว่า ให้พยานนำรถเข้ามาดูอีกครั้ง เมื่อพยานนำรถ
                ไปถึงที่เต็นท์รถพบกับผู้หญิงชื่อเล่นว่า อิ๋ว ซึ่งก็คือจำเลยคดีนี้ โดยจำเลยและผู้ชายอีกคนช่วยกัน

                ตรวจสภาพรถและตกลงให้พยานลงชื่อในสัญญากู้ไว้ ๗๐,๐๐๐ บาท แต่จำเลยมอบเงินให้พยาน



                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  65
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80