Page 74 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 74

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๑๘/๒๕๖๓

          ป.วิ.อ. ผู้เสียหาย, การสอบสวน (มาตรา ๒ (๔), ๑๒๐)

          ป.อ. ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)

          


   ผู้เสียหายที่ ๑ เป็นผู้เช่าซื้อรถย่อมมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์รถ ทั้งมีหน้าที่
          ต้องส่งมอบรถคืนให้แก่ผู้เสียหายที่ ๒ หากมีกรณีต้องส่งมอบคืน การที่คนร้ายยักยอกรถไป

          ย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ ๑ ได้รับความเสียหาย แม้การนำรถไปให้คนร้ายยึดถือไว้ประกันการกู้ยืมเงิน
          จะเป็นการผิดข้อตกลงกับผู้เสียหายที่ ๒ แต่ก็ไม่ทำให้ผู้เสียหายที่ ๑ หลุดพ้นหนี้ตามสัญญา
          เช่าซื้อรถที่มีต่อผู้เสียหายที่ ๒ แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาจำนวนเงินที่ผู้เสียหายที่ ๑ กู้ไปจาก
          คนร้ายเปรียบเทียบกับจำนวนเงินที่ผู้เสียหายที่ ๑ ผ่อนชำระมาแล้ว ถือว่าจำนวนเงินที่กู้ยืมไม่มาก
          และการที่ผู้เสียหายที่ ๑ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายที่ ๒ โดยประสงค์
          จะผ่อนชำระและครอบครองใช้ประโยชน์รถต่อ ประกอบกับพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายที่ ๑ กลับมา
          ติดตามรถจากคนร้ายคืน แสดงให้เห็นว่า ผู้เสียหายที่ ๑ ไม่ได้มีเจตนาเบียดบังรถไปเป็นของตน
          หรือคนร้ายโดยทุจริต และไม่ได้ยินยอมหรือมีส่วนร่วมให้คนร้ายยักยอกรถไป ผู้เสียหายที่ ๑
          จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย การร้องทุกข์และการสอบสวนชอบแล้ว พนักงานอัยการโจทก์

          มีอำนาจฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒๐
                                  ______________________________

          
             พนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด               โจทก์

          ระหว่าง    {
                        นางสาว ก.                                       จำเลย


          

    โจทก์ฟ้องว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกันยายน ๒๕๕๘ วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด นาย จ.
          ผู้เสียหายที่ ๑ นำรถยนต์ ๑ คัน ราคา ๓๗๕,๐๐๐ บาท ซึ่งผู้เสียหายที่ ๑ เช่าซื้อมาจากธนาคาร ท.
          จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหายที่ ๒ ไปจำนำไว้กับจำเลยและผู้เสียหายที่ ๑ มอบรถยนต์ให้ไว้ในครอบครอง
          ของจำเลย ตามสัญญาจำนำที่ผู้เสียหายที่ ๑ ทำไว้กับจำเลย ต่อมาระหว่างวันเวลาดังกล่าวข้างต้น
          ถึงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๙ เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ภายหลังจากที่จำเลย
          ครอบครองดูแลรถยนต์ดังกล่าวของผู้เสียหายที่ ๒ แล้ว จำเลยเบียดบังยักยอกเอารถยนต์ของ
          ผู้เสียหายที่ ๒ ซึ่งผู้เสียหายที่ ๑ ครอบครองใช้ประโยชน์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตนของจำเลย
          หรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒ ให้จำเลยคืน
          หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน ๓๗๕,๐๐๐ บาท แก่ผู้เสียหายที่ ๒

                จำเลยให้การปฏิเสธ
          

    ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒
          (ที่ถูกมาตรา ๓๕๒ วรรคแรก (เดิม)) จำคุก ๑ ปี ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน
          ๓๗๕,๐๐๐ บาท แก่ผู้เสียหายที่ ๒




              64    คำพิพากษาศาลฎีกา
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79