Page 87 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 87

ข้อสันนิษฐานของมาตรา ๑๔๒ วรรคสี่ประกอบมาตรา ๔๓ (๒), ๑๖๐ ตรี วรรคหนึ่งแล้ว  ยังต้อง
                                                                                         ๒
                ดำเนินคดีกับจำเลยในความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรตามมาตรา ๑๔๒

                วรรคสอง, ๑๕๔ (๓)  และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง  เป็นอีกกรรมหนึ่งด้วย
                                 ๓
                                                                              ๔
                หรือไม่ เพราะบางคดีเคยมีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันนี้แตกต่างกันไปในหลายทาง
                บ้างก็วินิจฉัยความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราตามข้อสันนิษฐานกับความผิดฐานไม่ปฏิบัติ
                ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรว่าเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน บ้างก็วินิจฉัยว่าเป็นการ
                กระทำกรรมเดียวกัน หรือบ้างก็วินิจฉัยว่าการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร
                ได้กำหนดโทษไว้ตามข้อสันนิษฐานของพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ แล้วว่าเป็นผู้ขับรถในขณะ
                เมาสุรา จึงไม่เข้าเงื่อนไขในวรรคสองของมาตรา ๑๕๔  และไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐาน
                                                             ๕
                ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรได้อีก ประเด็นข้อกฎหมายที่กล่าวมาในตอนต้นคงเป็นที่ยุติ
                ได้จากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับที่หมายเหตุนี้ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลย
                เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษ เหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะว่าการฝ่าฝืนคำสั่ง
                ที่ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานจราจรทดสอบตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสอง
                เป็นการทดสอบคนละขั้นตอนกับการฝ่าฝืนคำสั่งที่ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานจราจรทดสอบตรวจวัด


                มาตรา ๑๔๒ หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร หรือเจ้าพนักงานจราจร มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ
                   (๑)  รถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖
                   (๒)  เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมาย
                อันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ
                  ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๑) หรือ(๒) ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือ
                เจ้าพนักงานจราจร สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่
                  ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ทดสอบ ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานจราจร
                มีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การทดสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว หากผู้นั้น
                ยอมให้ทดสอบและผลการทดสอบปรากฏว่าไม่ได้ฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๑) หรือ (๒) ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที
                  ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น  หากผู้นั้นยังไม่ยอมให้ทดสอบ
                ตามวรรคสามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๒)
                  การทดสอบตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
                มาตรา ๑๕๔ ผู้ใด
                  (๑) ...
                  (๒) ...
                   (๓) ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานจราจรตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสอง หรือ
                   (๔) ...
                  ถ้าไม่เป็นความผิดที่กำหนดโทษไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท
                มาตรา ๑๖๐ ตรี ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท
                หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
                    ...
                ๒  อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๑
                ๓  อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๑
                ๔  ประมวลกฎหมายอาญา
                
 มาตรา ๓๖๘ ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือ
                 ข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                  ...
                ๕  อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๑



                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  77
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92