Page 31 - สรุปสาระสำคัญ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
P. 31

- 28 -

               และการชดเชยความเสียหายหรือการถูกระงับสิทธิประโยชน์ในกรณีที่ไม่มีการปฎิบัติตามค าตัดสิน ทั้งนี้ ยังมี
               การให้สิทธิพิเศษและแตกต่างกับภาคีประเทศพัฒนาน้อยที่สุดอีกด้วย
                       19.6 ให้มีการก าหนดจุดติดต่อ (contact point) และแจ้งให้ภาคีอื่นทราบ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่
               วันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ จะต้องแจ้งทันทีหากมีการเปลี่ยนแปลง


               บทที่ 20 บทบัญญัติสุดท้าย
                       บทบัญญัติสุดท้าย ประกอบด้วย 9 ข้อบท

                       20.1 กลุ่มภาคีอาจตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก้ไขความตกลงฉบับนี้
                       20.2 ให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ 60 วันหลังจากที่สมาชิกอาเซียน 6 ประเทศและคู่เจรจาอาเซียน 3
               ประเทศให้สัตยาบัน
                       20.3 ภาคีใดอาจถอนตัวจากความตกลงฉบับนี้โดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้เก็บรักษาความ
               ตกลง โดยการถอนตัวจะมีผล 6 เดือนหลังจากวันที่ได้แจ้ง

                       20.4 กลุ่มภาคีจะต้องทบทวนความตกลงฉบับนี้ เพื่อเสริมสร้างความตกลงและปรับให้ทันสมัย 5 ปี
               หลังจากวันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับและทุก ๆ 5 ปีต่อจากนั้น
                       20.5 ความตกลงฉบับนี้จะเปิดรับการภาคยานุวัติโดยสมาชิกใหม่ 18 เดือนหลังจากวันที่ความตกลงมี

               ผลใช้บังคับ โดยการภาคยานุวัติดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับความยินยอมของกลุ่มภาคีและข้อก าหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ ที่
               กลุ่มภาคีอาจตกลงกับสมาชิกใหม่

               ภาคผนวก 1 ตารางข้อผูกพันทางภาษี

                     ภาพรวม ภาคีตกลงร่วมกันที่จะใช้พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ที่ได้มีการปรับแก้ไขในวันที่
               ๑ มกราคม ๒๕๕๕ และใช้อัตราภาษีที่เรียกเก็บจริงที่มีผลใช้บังคับ ณ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นอัตราฐาน
               ส าหรับการลดหรือยกเลิกภาษี

                     1.1 ข้อผูกพันการเปิดตลาดสินค้าของไทย
                         ไทยได้ผูกพันการเปิดตลาดสินค้าให้แต่ละภาคีแตกต่างกัน โดยไทยเปิดตลาดที่ดีที่สุดให้กับ
               อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีสัดส่วนการยกเลิกภาษีอยู่ที่ร้อยละ ๙๑.๓ ของจ านวนรายการสินค้า
               ทั้งหมด (9,558 รายการ) และร้อยละ ๘๙.๑ ของมูลค่าการน าเข้าจาก RCEP  ในขณะที่ไทยยื่นข้อเสนอการเปิด
               ตลาดให้เกาหลี ญี่ปุ่นและจีน ในสัดส่วนที่น้อยกว่าและแตกต่างกัน โดยไทยมีสินค้าที่น ามายกเลิกภาษีให้กับ

               (๑) เกาหลี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๙๐.๓ ของจ านวนรายการสินค้าทั้งหมด และร้อยละ ๘๖.๔ ของมูลค่าการน าเข้า
               จาก RCEP (๒) ญี่ปุ่น ร้อยละ ๘๘.๕ ของจ านวนรายการสินค้าทั้งหมด และร้อยละ ๘๗.๓ ของมูลค่าการน าเข้าจาก
               RCEP และ (๓) จีน ร้อยละ ๘๕.๒  ของจ านวนรายการสินค้าทั้งหมด  และร้อยละ ๘๑.๓  ของมูลค่าการน าเข้าจาก

               RCEP เพื่อรักษาสมดุลของการเปิดตลาดกับภาคีเหล่านี้
                         ข้อผูกพันทางภาษีของไทยภายใต้ความตกลง RCEP สามารถแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้
                            (๑) สินค้าที่น ามายกเลิกภาษี ประกอบด้วยสินค้าที่ไทยผูกพันที่จะลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความ
               ตกลงมีผลใช้บังคับ ภายใน ๑๐ ปี ภายใน ๑๕ ปี และภายใน ๒๐ ปี นอกจากนี้ มีรายการสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์

               บางส่วนที่ไทยได้ก าหนดเงื่อนไขการน าเข้า Original Equipment Manufacturing (OEM) ว่า จะต้องน าเข้าโดย
               ผู้ผลิตยานยนต์หรือชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อน ามาใช้ในการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เท่านั้น ถึงจะสามารถ
               ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในตารางข้อผูกพันทางภาษี

                            (๒) สินค้าอ่อนไหว ไทยจะลดภาษีลงร้อยละ ๑๐ และ ๑๕ ภายใน ๒๐ ปี โดยเริ่มทยอยลดภาษี
               ในปีที่ ๑๑ และอัตราภาษีสุดท้ายจะไม่ต่ ากว่าร้อยละ ๕ (เหลือร้อยละ ๕ – ๒๗)
                            (๓) สินค้าอ่อนไหวสูง ไทยจะคงอัตราภาษีไว้เท่ากับอัตราภาษีฐานการเจรจา
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36