Page 90 - การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการ เพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
P. 90
81
การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
ตัวอย่างของเกมทางจิตวิทยาเช่น
“ฉันน่าสงสาร” (Poor Me) เป็นบทบาทที่บุคคลแสดงออกที่
แสดงให้เห็นถึงการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในลักษณะของค�พูด หรือ
การกระท� ซึ่งจะพบเกมลักษณะนี้มากในกลุ่มคนพิการ ในการ
เข้าร่วมในการเล่นเกมนั้น บุคคลจะได้รับการใส่ใจ เพื่อสนับสนุน
มุมมองเกี่ยวกับโลกของตนเอง และ รวบรวมความรู้สึกที่ไม่ดีเอาไว้
ความรู้สึกไม่พึงพอใจเหล่านี้ที่บุคคลได้ประสบหลังจากการ
เล่นเกมส์ เป็นความรู้สึกกวนใจ (Rackets) ความรู้สึกกวนใจนี้
เป็นอารมณ์ที่คุ้นเคยที่ได้เรียนรู้และได้รับการกระตุ้นในวัยเด็ก
และประสบในหลาย ๆ สถานการณ์ที่ตึงเครียดที่แตกต่างกันไป
แต่เป็นความรู้สึกที่ปรับตัวไม่ได้ (Stewart &Joines, 1987 cited
in Corey. 2000) ความรู้สึกกวนใจมีลักษณะคล้ายกันและ
เชื่อมโยงความรู้สึกที่บุคคลมีเมื่อสมัยเป็นเด็ก บุคคลมักเลือก
เกมที่จะเล่นเพื่อรักษาความรู้สึกกวนใจของเขาไว้ เมื่อบุคคล
“รู้สึกไม่ดี” ก็มักได้รับความเห็นใจจากคนอื่น หรือควบคุมบุคคล
อื่นไว้ด้วยอารมณ์ที่แย่ ๆ ของตนเอง และแสดงออกบทชีวิตของ
ตนเอง
4.2.8 ต�าแหน่งชีวิตและบทชีวิตทางจิตวิทยา
แนวทางการตัดสินใจของบุคคล มุมมองการด�เนินชีวิต และ
สัมพันธภาพกับคนอื่น ๆ ของบุคคล เกิดจากการรวบรวมข้อมูลขึ้น
ในระหว่าง 5 ขวบปีแรกของชีวิต น�ไปสู่การเป็นพื้นฐานในการ
ก�หนดการสร้างต�แหน่งชีวิต ซึ่งพัฒนาไปสู่บทบาทของบทชีวิต
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อบุคคลตัดสินใจเกี่ยวกับลักษณะชีวิต มีแนวโน้ม
ที่จะติดตัวไป จนกว่ามีเหตุการณ์ที่ท�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น
การบ�บัดเพื่อการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจที่ส�คัญ
นอกจากนั้นเกมมักจะถูกใช้เพื่อสนับสนุนและรักษาลักษณะ
ชีวิตและเล่นไปตามบทชีวิต บุคคลแสวงหาความปลอดภัยโดย
การคงไว้ซึ่งสิ่งที่มีความคุ้นเคย ถึงแม้ว่าความคุ้นเคยนั้นอาจเป็น
ความไม่พึงพอใจอย่างมากก็ตาม ดังที่เราได้เห็นกันในตอนต้น