Page 88 - การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการ เพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
P. 88
79
การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
4.2.6 ความต้องการในการเอาใจใส่
หลักการพื้นฐานของวิธีการของแนวคิดทฤษฎี TA คือ
มนุษย์จ�เป็นที่จะได้รับ “การเอาใจใส่”ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
เพื่อการพัฒนาความรู้สึกของไว้วางใจต่อโลก และเป็นพื้นฐาน
ส�หรับความรักที่มีต่อตนเอง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า
การขาดการสัมผัสทางร่างกาย สามารถท�ลายความเจริญ
เติบโตและพัฒนาการของทารก และในกรณีที่รุนแรงนั้น สามารถ
น�ไปสู่การเสียชีวิตได้ การเอาใจใส่ทางด้านจิตใจสามารถ
สื่อออกมาเป็นสัญญาณทั้งทางภาษาพูดและภาษากายเพื่อให้
เกิดการยอมรับและการตระหนักถึงความส�คัญการมีตัวตน
ของบุคคล ซึ่งแสดงถึงการยืนยันถึงคุณค่าของบุคคล
การเอาใจใส่สามารถแบ่งได้เป็นทั้งภาษาพูดและภาษากาย
การปราศจากเงื่อนไข หรือการมีเงื่อนไขและเป็นทั้งในทางบวก
หรือในทางลบ
การเอาใจใส่ในทางบวกอันเป็นการแสดงความรัก ความอบอุ่น
หรือความซาบซึ้งใจด้วยการพูด หรือด้วยการมอง การยิ้ม การสัมผัส
หรือการแสดงท่าทางนั้น เป็นสิ่งที่จ�เป็นต่อพัฒนาการของบุคคล
ที่มีความสมบูรณ์พร้อมทางด้านจิตใจ
การเอาใจใส่ในทางลบ เป็นวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับส�หรับ
บุคคลเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้น เช่น “ฉันไม่ชอบเลย
เมื่อคุณใช้คอมพิวเตอร์ของฉันโดยไม่ขออนุญาต” บางครั้งการ
เอาใจใส่ในทางลบเป็นสิ่งจ�เป็นในการปกป้องเด็ก ๆ “หยุดเดี๋ยวนี้นะ
อย่าออกไปที่ถนน จนกว่าพ่อแม่จะไปถึงริมถนนและจูงมือลูกไป”
เป็นที่น่าสนใจว่า การเอาใจใส่ทางลบได้รับการพิจารณาว่าดีกว่า
การไม่เอาใจใส่เลยกล่าวคือ เป็นการถูกเมินเฉย เราทุกคนคุ้นเคย
กับกรณีต่าง ๆ เมื่อการกระท�ของเด็กแสดงให้เห็นถึงการเอาใจ
ใส่ในทางลบจากพ่อแม่ เมื่อการตอบสนองเหล่านั้นดีกว่าการไม่
สนใจหรือถูกปล่อยให้ผ่านไป