Page 96 - การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการ เพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
P. 96
87
การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
5.1 กรณีศึกษาที่ 1 การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการ
คนพิการประเภทพิการทางการเคลื่อนไหว
เป็นการพัฒนาหลักสูตรเพื่อต้องการให้เป็นหลักสูตร
มาตรฐานเพื่อน�ไปสู่การให้บริการสุขภาวะคนพิการที่ได้รับกา
รับรองจากหน่วยบริการสุขภาพ และน�ไปสู่การจัดบริการที่
เป็นมาตรฐานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการให้บริการ
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการให้บริการสุขภาพจากภาครัฐ โดยมี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1. สถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านความพิการ
2. หน่วยงานด้านสุขภาพที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
คนพิการ
3. หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการให้บริการ
สุขภาพ
4. องค์กรคนพิการ
5.1.1 แนวคิดที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ใช้กระบวนการ
AIC และแนวคิดวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ซึ่งเป็นก
ระบวนการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมท� ร่วมรับผิดชอบ ตั้งอยู่บน
พื้นฐานของความพึงพอใจ และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในอันที่
จะสร้างสรรค์ และจัดการร่วมกัน โดยมีกระบวนการ AIC แบ่ง
เป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนความพึงพอใจ หรือ Appreciation
(A) ขั้นตอนกลวิธีที่มีอิทธิพลต่อความส�เร็จ หรือ Influence (I)
และขั้นตอนการควบคุม หรือ Control (C)
ขั้นตอนความพอใจ Appreciation (a)
เนื่องจากนโยบายที่ภาครัฐก�หนดขึ้น บางครั้งอาจท�ให้
ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเข้าใจไม่ชัดเจน กระบวนการนี้จึง
เป็นการสร้างความพอใจให้ยอมรับนโยบาย การยอมมีส่วนร่วม
และเข้าใจถึงความเป็นไปได้ว่าจะมีความส�เร็จร่วมกันโดยใช้
การแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อเข้าใจประเด็นร่วมกัน ผู้อ่านสามารถ
ศึกษาเพิ่มเติมจากกรณีศึกษาที่ผู้เขียนได้น�มาเสนอต่อไป