Page 53 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 มาราคม - มีนาคม 2565
P. 53
เสียงลั่นจากหลังคาบ้าน
รวมถึง การออกแบบการระบายอากาศในพื้นที่ใต้หลังคา จะมีผลต่อการยืด
หดตัวของโครงหลังคา
2.3 ขนาดของหลังคา ซึ่งหลังคามีขนาดใหญ่มาก ๆ เช่น หลังคาของทาวเฮ้าส์
ที่สร้างต่อเนื่องกัน หรือหลังคาของที่จอดรถหลายคัน และใช้วัสดุมุงเป็น
Metal Sheet และออกแบบโครงสร้างโครงหลังคาค่อนข้างเล็ก มีโอกาสที่จะ
เกิดเสียงดังลั่นได้ค่อนข้างมาก
3. แนวทางการแก้ไข
ส�าหรับบ้านที่สร้างแล้วท�าได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องหาสาเหตุให้พบ
คือ ต้องหาให้ได้ว่าเสียงเกิดจากโครงสร้างส่วนใด ซึ่งถึงจะพบแล้ว การแก้ไข
ก็ท�าได้ค่อนข้างยากเนื่องจากข้อจ�ากัดของพื้นที่ แต่พอมีแนวทางเยียวยาหรือ
ลดผลกระทบได้ ดังนี้
3.1 ลดอุณหภูมิของพื้นที่ใต้หลังคา โดยเปิดช่องระบายอากาศหรือติดตั้ง
พัดลมระบายอากาศให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศเพื่อลดอุณหภูมิ
3.2 ลดอุณหภูมิวัสดุมุง โดยติดตั้งระบบน�้าฉีดรดหลังคาด้านบน จะท�าให้
ลดความร้อนในบ้านไปด้วย
3.3 ติดตั้งฉนวนกันความร้อนและกันเสียงเหนือฝ้า เพื่อลดการได้ยินเสียง
ที่เกิดขึ้น
3.4 ตรวจสอบโครงสร้างโครงหลังคาเหล็กว่าพบเสียงที่ต�าแหน่งใด แจ้งหาวิธี
ยึดชิ้นส่วนนั้นให้แน่นขึ้น
4. เกิดเสียงลั่นแล้วมีอันตราย
ต่อความมั่นคงแข็งแรงหรือไม่
ไม่เคยพบว่าการยืดหดของหลังคาจะมีอันตรายต่อความมั่นคงแข็งแรงของ
อาคารเลย ปัญหาที่พบนอกจากที่เกิดเสียงดังนั้นเท่าที่พบคือ
4.1 หลังคาเกิดน�้ารั่ว เนื่องจากเกิดการยืดหดตัวของวัสดุมุงหรือโครงสร้าง
หลังคาดึงรั้งวัสดุให้เกิดรูรั่วหรือเกิดแตกร้าวขึ้น
4.2 โครงหลังคาดึงรั้งโครงสร้างเสาบ้าน จนเกิดรอยแตกร้าวที่ผนังกั้นห้อง
หรือฝ้าที่อยู่ด้านใต้โครงหลังคาเกิดรอยฉีกขาด
จะเห็นได้ว่าปัญหาการยืดหดตัวของหลังคานั้น ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิด
ผลกระทบไม่มาก เป็นแนวท�าให้เกิดความร�าคาญมากกว่า การแก้ไขส่วนใหญ่
ท�าได้ค่อนข้างยาก แต่ตามประสบการณ์ปัญหาดังกล่าวเมื่อเวลาผ่านไป
โครงสร้างมีการยืดหดตัวจนเข้าที่ เสียงดังกล่าวก็จะหายไปเอง โดยไม่ต้อง
ท�าอะไร
ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2565 วิศวกรรมสารวิศวกรรมสาร 53 53 53
ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2565