Page 35 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 76 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566
P. 35

การน�าแบบจ�าลองสารสนเทศอาคารมาใช้ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย (กรณีศึกษา: โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว)




                  3.3 ปัญหาและความท้าทายที่พบจากกรณีศึกษา

                  แม้ว่าการน�า BIM มาใช้ในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ผลส�าเร็จในทางปฏิบัติ
                อย่างเป็นรูปธรรม ดังที่แสดงในหัวข้อ 3.1 และ 3.2 แล้วนั้น อย่างไรก็ตามจากกรณีศึกษา
                ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการน�า BIM มาใช้ในโครงการหลายส่วนด้วยกัน ดังต่อไปนี้
                   1) ขั้นตอนการจัดท�า CRD นั้นยังไม่อยู่ในขั้นตอนการด�าเนินการหลักของเจ้าของ
                งาน เนื่องจากเป็นรูปแบบโครงการน�าร่องซึ่งมีการริเริ่มน�ามาใช้กับลักษณะโครงการงาน

                ออกแบบและก่อสร้าง จึงยังไม่มีข้อก�าหนดที่ชัดเจน ท�าให้การจัดท�า CRD จึงถูกน�ามาใช้
                ภายในบริษัทเพื่อเพิ่มความถูกต้องของแบบ และลดข้อผิดพลาดของงานก่อสร้างเป็นหลัก
                   2) จากรูปแบบโครงการที่เป็นงานออกแบบและก่อสร้าง จึงท�าให้เวลาในการท�างาน
                ค่อนข้างจ�ากัด การปรับเปลี่ยนรูปแบบด้านการออกแบบ ตามการพัฒนาของโครงการที่
                พิจารณาความคุ้มค่าการลงทุนในการก่อสร้างด้วยนั้น ท�าให้การพัฒนากรอบแนวคิดการ
                ท�างาน BIM ที่สอดคล้องกับระยะเวลา, แผนงาน และจุดส�าคัญของโครงการ (project

                milestone) ของโครงการ ไม่สามารถพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายของ BIM (BIM
                Goals) และแผนการด�าเนินงาน BIM (BIM Execution Plan, BEP) ที่ก�าหนดไว้ตอนเริ่ม
                ต้นโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม
                   3) ความซับซ้อนของโครงการ (project complexity) [8] ดังแสดงในรูปที่ 15 ท�าให้
                ต้องมีการสร้างแบบจ�าลองที่มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องใช้ความรู้ความ

                เข้าใจในการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก จึงท�าให้เกิดความล่าช้า
                ในการพัฒนาแบบจ�าลอง
                   4) บุคลากรด้านงานก่อสร้างในไทยยังคุ้นชินกับระบบการจัดท�าแบบในรูปแบบ 2 มิติ
                จึงท�าให้ยังพบปัญหาการขาดความรู้ ความเข้าใจในการน�า BIM มาใช้ในงานก่อสร้างพอ
                สมควร
                   5) จากข้อจ�ากัดต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลางานก่อสร้าง จึงท�าให้มีการตัดสินใจใน

                การจัดท�าแบบเพื่อการก่อสร้างในรูปแบบ 2 มิติเป็นหลัก โดยใช้ BIM ประกอบการพิจารณา
                ความถูกต้องของแบบและตรวจสอบข้อขัดแย้ง รวมถึงเป็นการใช้งานภายในบริษัทเท่านั้น
                   6) ช่วงเวลาในการจัดท�า CRD ไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ เนื่องจากข้อจ�ากัดด้านระยะ
                เวลาการออกแบบและก่อสร้าง จึงท�าให้ CRD ถูกจัดท�าควบคู่ไปกับการจัดท�าแบบเพื่อการ
                ก่อสร้าง ซึ่งโดยหลักการท�างาน การจัดท�า CRD ควรเกิดขึ้นก่อนการจัดท�าแบบก่อสร้าง

                ดังแสดงในรูปที่ 16




















                                                  รูปที่ 15 ความซับซ้อนของโครงการ

                                                                                                    วิศวกรรมสาร  35
                                                                                       ปีที่ 76 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40