Page 62 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 62
การให้สินเชื่อและการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ
103-1 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำาหนดกรอบนโยบายเรื่อง “การธนาคารที่ยั่งยืน” หรือ “sustainable banking
สำาหรับการกำากับให้สถาบันการเงินในประเทศไทยจำาเป็นต้องตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนการดำาเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน
ในปัจจุบันไปสู่ธนาคารที่ยั่งยืน เช่น การออกและบังคับใช้นโยบายสินเชื่อ (credit policy) ที่ชัดเจน คำานึงถึงความเสี่ยงด้านสังคม
สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (Environment, Social & Governance หรือความเสี่ยง ESG) การบูรณาการกระบวนการประเมิน
ความเสี่ยง ESG เข้าไปในกระบวนการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร เป็นต้น
103-2
แนวการบริหารจัดการ
ธนาคารออมสิน ถือเป็นสถาบันการเงินแห่งที่ 2 ในประเทศไทย (เป็นสถาบันการเงินของรัฐแห่งแรก) ในการรับ “หลักการ
ธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของสำานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP
Finance Initiative: UNEP FI เพื่อยกระดับการดำาเนินการเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลของธนาคารให้เป็นมาตรฐาน
สากล ซึ่งรวมถึงการให้บริการทางการเงินของธนาคาร ในอนาคตที่จำาเป็นต้องมีการคำานึงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ
ธรรมาภิบาล เป็นสำาคัญยิ่งขึ้น
ที่ผ่านมานอกเหนือจากการดำาเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของธนาคารแล้วนั้น ธนาคารยังได้ให้ความสำาคัญต่อการ
บรรเทาผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อม และการส่งผลกระทบเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อมแก่องค์กร/หน่วยงานภายนอกผ่านสินเชื่อ
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และลูกค้าหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
58 ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม