Page 88 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 88

2.2  โครงการมหาวิทยาลัยประชาชน

                ตามที่ธนาคารมีภารกิจในการเป็นผู้ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยผนวก
              ความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในทุกกระบวนการทางธุรกิจจนพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของ
              ขีดความสามารถขององค์กร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เสริมสร้างความสุข และ   มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม
              อนาคตที่มั่นคงของประชาชนระดับฐานราก ในปี 2563  ได้มีการจัดกิจกรรมให้กับชุมชน   สร้างอาชีพ สร้างรายได้
              ผ่านกิจกรรมโครงการ ออมสินสนับสนุน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก่ประชาชนฐานราก ภายใต้   แก่ประชาชนฐานราก
              แนวคิด “GSB ปั้นงาน ปั้นเงิน” โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาอาชีพประชาชนที่ได้รับ
              ผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยมุ่งเน้นที่บทบาทตาม   10,137
              ภารกิจหลัก “Social Bank” ในการดูแลกลุ่มลูกค้าฐานราก เพื่อลดความเหลื่อมลำ้าทางสังคม    ราย
              และเป็นการสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำานวน 10,137 ราย



                2.3  การให้ความรู้ทางการเงินออนไลน์ (Online Financial Literacy : OFL)
                การให้ความรู้ทางการเงินออนไลน์ (Online Financial Literacy : OFL) แก่กลุ่มลูกค้าฐานราก
              ที่ประสงค์พัฒนาตนเองโดยเลือกโครงการให้ความรู้ทางการเงินออนไลน์ (Online Financial Literacy
              : OFL) โดยมีการจ้างออกแบบและพัฒนาระบบงานให้ความรู้ทางการเงินออนไลน์ (Online    การให้ความรู้การเงิน
                Financial Literacy : OFL) ให้สามารถใช้งานได้ผ่านเว็บไซต์ “ออมตังค์” (oomtang.gsb.or.th)    ออนไลน์ มีผู้เข้าใช้
                โดยเริ่มเปิดผ่านเว็บไซต์ใช้งานได้ตั้งแต่ธันวาคม ปี 2563 และ Application Mobile “Oomtang”    งานระบบทั้งหมด
                ซึ่งจะเปิดให้เข้าใช้งานได้ในปี 2564 เพื่อสะดวกต่อการเข้าถึงช่องทางการให้ความรู้ทางการเงิน
                ของกลุ่มลูกค้าฐานราก โดยที่ผ่านมามีผู้เข้าใช้งานระบบทั้งหมด 5,250 ราย          5,250
                                                                                                 ราย
                  ทั้งนี้ระบบให้ความรู้ทางการเงินแบบออนไลน์ จะช่วยให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้ทางการเงิน
                ได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง เท่าเทียมกัน และผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือนี้ในการทบทวน
                และประเมินความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง



                2.4 โครงการตลาดนัดประชารัฐออมสินสร้างไทย

                 เป็นโครงการเพื่อสร้างช่องทางการตลาด (Offline) ให้กับผู้มีรายได้น้อย โดยจัดตั้งแผงค้าชั่วคราว
                หรือแผงค้าถาวรสำาหรับรองรับผู้ปะกอบการรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการตลาดนัดประชารัฐออมสิน
                สร้างไทย ที่ต้องการพื้นที่ในการจำาหน่ายสินค้า/บริการ เพื่อเสริมสร้างรายได้ จำานวนไม่น้อยกว่า    สร้างช่องทางการตลาด
                6,000 ร้านค้า โดยใช้พื้นที่ในบริเวณสำานักงานธนาคารออมสินภาค/เขต/สาขา ทั่วประเทศ หรือ   ให้กับผู้มีรายได้น้อย
                พื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสม โดยการสนับสนุนจากความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน    มีผู้เข้าร่วมโครงการ
              ซึ่งโครงการตลาดนัดประชารัฐออมสินสร้างไทย มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 6,705 ร้านค้า   6,705
                และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 91
                                                                                               ร้านค้า





















           84     ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93