Page 89 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 89
การให้ความรู้ทางการเงิน 103-1
จากสถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยเฉพาะ
โครงสร้างทางสังคมที่มีช่องว่างของ “ความรู้ทางการเงิน” ทำาให้สังคมบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจต่อการใช้บริการทางการเงิน
ที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ธนาคารออมสินได้ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ทางการเงินแก่สังคม
มาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังว่าธนาคารจะเป็นส่วนหนึ่งต่อการสร้างผลเชิงบวกแก่สังคม “Making POSITIVE Impact on Society”
เพื่อให้กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มประชาชนฐานรากและประชาชนทั่วไปนี้ได้รับการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เปาหมายการให้ความรู้ทางการเงิน 103-2
• การให้ความรู้ทางการเงิน Financial Literacy >100,000 ราย (FL In process/FL Plus)
• การส่งเสริมการออมผ่านโครงการธนาคารโรงเรียน และ Virtual School bank : มีสมาชิกธนาคารโรงเรียน
100,000 บัญชี
• มีสมาชิก Virtual School bank มากกว่า 1,000 แห่ง
• ให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกค้ารายย่อย
และลูกค้าองค์กรชุมชน
• การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรายย่อย (พ่อค้าแม่ค้า)
• ส่งเสริมการออมและสร้างความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงวัยผ่านผลิตภัณฑ์ของธนาคาร
แนวการบริหารการให้ความรู้ทางการเงิน
ธนาคารได้มีการดำาเนินงานยกระดับการส่งเสริมการออม การสร้างวินัยทางการเงินสนับสนุนและสร้างโอกาสในการเข้าถึง
แหล่งเงินทุนให้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มประชาชนฐานรากและประชาชนทั่วไป และกลุ่มผู้สูงวัย เพื่อพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง
อย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำาปี 2563 85