Page 39 - บทบาทและความจำเป็น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในยุคสังคมสูงวัย
P. 39

บทบาทและความจ�าเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในยุคสังคมสูงวัย



          กรกนก ลัทธนันท์ จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี และ นิภำพร อภิสิทธิวำสนำ(2560)


                 สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2550-2560
          มีจ�านวน 15 งานวิจัย และมีบทความวิจัยของต่างประเทศที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่

          7 ชื่อเรื่อง มีข้อเสนอแนะจากการศึกษางานวิจัยสรุปได้ ดังนี้


                 1. ควรมีการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยให้ค่าตอบแทนจิตอาสาดูแล
          ผู้สูงอายุ และสนับสนุนบริการรถรับ-ส่ง ผู้สูงอายุเข้ารับบริการทางสาธารณสุข


                 2. รัฐบาลควรมีหน่วยงานที่รองรับผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลและพึ่งพาตนเอง
          ไม่ได้ในระยะยาว เพื่อดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพตามหลักวิชาชีพของผู้ดูแลที่เป็น

          ทีมสุขภาพโดยตรง มีนโยบายและแผนการสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว และ
          ชุมชนเดิมอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ


                 3. ควรมีการพัฒนาระบบกลไกการด�าเนินการดูแลผู้สูงอายุแบบรายกรณี
          ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพและการดูแลทางสังคม เพื่อให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุอย่าง
          เป็นองค์รวม


                 4. ควรมีนโยบายหรือแผนของการเสริมพลัง เพื่อความมุ่งมั่นในการท�างาน

          อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ เช่น การยกย่อง การให้รางวัล


                 5. ควรจัดประชุมเพื่อทบทวนกระบวนการในการจัดการดูแลผู้สูงอายุแบบราย
          กรณี เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง ปัญหาอุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน


                 6. ควรมีการพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุแก่บุคลากรของ อบต.
          การจัดการงบประมาณ การวางแผน การควบคุมก�ากับ การจัดบุคลากร การเสริมพลัง
          ภาคีเครือข่ายให้ตอบสนองความจ�าเป็นทางสุขภาพของผู้สูงอายุทุกกลุ่ม และส่งเสริม

          การดูแลแบบครอบครัวและเพื่อนบ้านเป็นฐาน



                                                                           39
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44