Page 44 - บทบาทและความจำเป็น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในยุคสังคมสูงวัย
P. 44
2. จัดให้มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในประกันคุณภาพการจัดการฝึกอบรม
ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่นเดียวกับการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นใจ
ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผู้ผ่านการอบรมทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานของ
หน่วยงานฝึกอบรม เป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ตามมาตรฐานการฝึกอบรมและตัวบ่งชี้ โดย
2.1 พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพการฝึกอบรม
และมีการประเมินทุกปีโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องทาง
วิชาชีพและด้านการจัดการฝึกอบรม
2.2 ก�าหนดระเบียบ ข้อปฏิบัติของหน่วยฝึกอบรม รวมถึงบทลงโทษ กรณี
ไม่ปฏิบัติตาม
2.3 ประเมินคุณภาพผู้ส�าเร็จการศึกษา โดยมีแบบทดสอบมาตรฐานกลาง
2.4 กรณีที่มีการขึ้นทะเบียนเป็นวิชาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องมีการประเมิน
ทุกระยะ เช่น ทุก1-2 ปี หรือ 3-5 ปี แล้วแต่ความเหมาะสม
3. พัฒนาและยกระดับเป็นอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุและระบบการสร้างขวัญก�าลังใจ
แก่ผู้ดูแลสูงอายุ โดย
3.1 สร้างระบบจูงใจทั้งที่เป็นความก้าวหน้าต่อยอดด้านอาชีพที่มั่นคง การยกย่อง
ให้รางวัล และค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจในแต่ละ
ช่วงเวลา
3.2 พัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องโดย
การอบรมฟื้นฟู ศึกษาผ่านนวัตกรรมการเรียน การเรียนการสอนออนไลน์
สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง การศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบฯ และรวมถึงการ
พัฒนาความรู้และทักษะแก่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ
3.3 ส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่จะก้าวสู่อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้ผ่านการรับรอง
จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ ระดับชั้นต่าง ๆ เพื่อความ
44