Page 139 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 139

ใบความรู้แจกทุกคน
               อะไรคือ I - Message



                      การสื่อสารด้วยประโยค I – message หรือ  “ภาษาฉัน” เป็นการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้ง  และทำให้
               บรรยากาศผ่อนคลายลง ประโยค I – message มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่พูด จึงจำเป็น
               อย่างมากที่ผู้พูดต้องควบคุม จัดการอารมณ์เชิงลบให้ได้ก่อน จึงจะสามารถสื่อสารเชิงบวกด้วย  I - message

               “ภาษาฉัน” ได้
                                                                    การสื่อสารด้วยประโยค I – message “ภาษาฉัน”
                                                              ต้องทำความเข้าใจว่าคนที่เราพูดด้วยอาจไม่ได้เปลี่ยน

                                                              พฤติกรรมนั้นทันที (อย่าคาดหวังว่าเมื่อสื่อสารด้วย
                                                              ประโยค  I-message “ภาษาฉัน”  แล้ว พฤติกรรม

                                                              จะเปลี่ยนทันที หรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้)
                                                              ความสำคัญคือ ผู้พูดได้จัดการควบคุมอารมณ์ และได้
                                                              สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา บอกความรู้สึกของตัวเอง

                                                              ด้วยน้ำเสียง ท่าทีที่ทำให้เกิดความเข้าใจ สบายใจ
                                                              ของทั้งสองฝ่ายลดการปะทะ และนำไปสู่ความเข้าใจกัน



               องค์ประกอบสําคัญของประโยค I – message


               I – message ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  3 ส่วน        สิ่งที่ต้องคำนึงในการใช้ I – message
               ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามนี้เสมอไป        .  ควบคุมน้ำเสียง สีหน้าแววตาให้เป็นปกติในเวลา
               1. บรรยายพฤติกรรมที่ชัดเจน : เวลาที่ฉันได้ยิน /       ที่คุณกำลังมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด โมโห
                                                              .
                  ฉันได้เห็น……                                  พูดเฉพาะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น ไม่พูดถึง
               2. บรรยายความรู้สึกของตัวเองออกมาก : ฉันรู้สึก……     เรื่องที่ผ่านมา
                                                              .
               3. บรรยายผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเฉพาะเจาะจง  .  อย่าใช้คำว่า “เสมอ” “ไม่เคยเลย”
                   จากการเห็นพฤติกรรมนั้น                        อย่าใช้น้ำเสียงข่มขู่หรือทำให้อีกฝ่ายรู้สึกกลัว

                                                                  หรือหงุดหงิดมากขึ้น


                 หากกำลังโกรธและต้องการปลดปล่อยอารมณ์ออกมา ท่องไว้ในใจเสมอว่าความโกรธเป็นเรื่องรอง สิ่งที่สำคัญกว่า
                 และได้ผลกว่า คือ การบอกความรู้สึกที่ทำให้โกรธ เช่น เพราะผิดหวังถึงโกรธ เพราะหงุดหงิดถึงโกรธ และเตือน

                 ตัวเองว่าการโกรธบ่อย ๆ จะทำให้เกิดการต่อต้านและก้าวร้าวตามมา


               I – message เป็นเพียงบันไดขั้นแรก
               I – message เป็นการเริ่มต้นก้าวแรก

               และเป็นก้าวที่ดีในการทำความเข้าใจให้ชัดเจนกับอีกฝ่ายถึงความรู้สึกของคุณ แต่ไม่ได้แปลว่า ใช้แค่ I – message
               แล้วสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของอีกฝ่ายได้แล้ว  ต้องมองหาวิธีการอื่นตามมาหลังจากที่เริ่มต้นสื่อสารด้วย

               I – message เพื่อสนับสนุนให้อีกฝ่ายทำพฤติกรรม เช่น
                 .   เพื่อให้ทำตามกติกา
                 .   เพื่อให้ทางเลือก

                 .   เพื่อบอกว่าคุณอยากให้ทำอะไร
                 .   เพื่อบอกว่าจะเกิดผลอะไรตามมา





                                                                                                                134
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144