Page 137 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 137
2. ผู้จัดการเรียนรู้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อเราเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งแล้ว ในกิจกรรมนี้ เราจะลอง
มาหาวิธีการสื่อสารที่จะช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา ซึ่งมีทั้งความขัดแย้งที่เกิดระหว่างครูกับครู
ครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน โดยจะใช้การเล่น บิงโก (สอบถามผู้เรียนว่ารู้จักวิธีเล่นบิงโกหรือไม่
ให้อธิบายเพื่อให้เข้าใจตรงกัน)
3. จากนั้น ผู้จัดการเรียนรู้ แจกใบบิงโกที่เตรียมไว้ ให้กับผู้เล่นทุกคน โดยให้คำสั่งว่า เมื่อได้ยินเสียงนกหวีด
หรือเสียงระฆัง ให้ทุกคนเดินถามว่ามีเพื่อนคนไหนบ้างที่เคยใช้วิธีตามที่ระบุไว้ในบิงโก แล้วขอให้เพื่อน
อธิบายวิธีการให้ฟังว่าใช้ในสถานการณ์ไหน ทำอย่างไร และได้ผลอย่างไร จากนั้น เมื่อได้ยินเสียงนกหวีด
หรือเสียงระฆัง ให้จบการสนทนา โดยให้เพื่อนคนนั้นลงชื่อยืนยันในช่องวิธีดังกล่าว แล้วออกตามหาคนต่อไป
ตามวิธีที่ระบุไว้ในช่องต่างๆ โดยจะมีช่องว่างให้แต่ละคนสามารถเติมวิธีการเพิ่มเติมที่ไม่ซ้ำกับในช่องอื่นๆ
ได้เองและนับลายเซ็นต์ของตนเป็นคะแนนได้ หากใครหาลายเซ็นต์ของเพื่อนได้ครบในรูปของแนวนอน
แนวตั้ง หรือแนวทแยง ก็ให้ตะโกนขึ้นว่า บิงโก ย้ำกับผู้เรียนว่า ขอให้ฟังเพื่อนอธิบายจนจบและรอ
ฟังเสียงสัญญาณ ก่อนจะเปลี่ยนไปถามคนอื่น ควรให้เวลาพอสมควรในการที่แต่ละคนจะได้รับฟังวิธีการ
และแลกเปลี่ยนกันและกันในแต่ละรอบ และให้เวลาในการทำกิจกรรมขั้นตอนนี้ ประมาณ 10 นาที
4. เมื่อหมดเวลา ให้ผู้เรียนกลับมานั่งในที่ของตน จากนั้น ผู้จัดการเรียนรู้สุ่มถามถึงวิธีการต่างๆ ที่แต่ละคนได้
จากลายเซ็นต์ของเพื่อนว่าทำอย่างไร ทำในสถานการณ์ไหน ได้ผลอย่างไร
5. จากนั้น ถามว่าในใบบิงโกของแต่ละคน มีใครที่ใช้คำพูด I - Message บ้าง และถามคนที่เคยใช้ว่า วิธีการนี้
ทำอย่างไร
6. เมื่อผู้เรียนอธิบายถึงขั้นตอนการใช้ I - Message แล้ว หากการอธิบายของผู้เรียนยังไม่กระจ่างชัด ให้เพิ่มเติม
โดยถามผู้เรียนทั้งห้องว่า มีใครใช้วิธี I - Message อีกบ้าง แล้ววิธีนี้ใช้ได้ผลหรือไม่ ก่อนจะแจกใบความรู้
การใช้ I - Message ให้กับทุกคนได้อ่านทำความเข้าใจ
7. จานนั้น ให้ผู้เรียนจับคู่กัน เพื่อลองฝึกทักษะการใช้ I - Message โดยให้สมมติตนเองตามโจทย์ที่ได้รับ
แล้วแจกโจทย์ที่เตรียมไว้ให้คู่ละ 1 ใบ และให้เวลาในการฝึกพูดโดยมีองค์ประกอบ 3 ขั้นตอน ตามที่ระบุไว้
ในใบความรู้
8. เมื่อหมดเวลา ขออาสาสมัคร 3 -4 คู่ เพื่อออกมาแสดงบทบาทสมมติตามโจทย์ที่ได้รับ โดยขอให้แสดง
เปรียบเทียบการใช้ประโยคแบบที่เคยชินเมื่อเกิดความไม่พอใจ กับการใช้ประโยคแบบ I - Message
9. จากนั้นถามผู้เรียนกลุ่มใหญ่ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูเพื่อนเล่นบทบาทสมมติ โดยใช้คำถามเพื่อประเมิน
ผู้เรียน และเป็นการสรุปการเรียนรู้ร่วมกัน
. ขั้นตอนไหนที่รู้สึกยากที่สุดเมื่อต้องพูดด้วยประโยค I - Message
. สามารถนำการใช้ I - Message ไปช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดในสถานศึกษาได้อย่างไรบ้าง
132