Page 133 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 133
3. จากนั้นอ่านข้อความที่เตรียมไว้ (อาจจดไว้ก่อนบนกระดาน หรือทำเป็นสไลด์ไว้) และให้เวลาแต่ละคน
ตัดสินใจว่าจะเดินไปอยู่กลุ่มไหนหลังจากได้ฟังแล้ว
4. ผู้จัดการเรียนรู้สุ่มถามความเห็นจากตัวแทนแต่ละกลุ่มหลังจากทุกคนได้เลือกแล้วว่าจะนั่งที่กลุ่มใด เพื่อขอ
เหตุผลว่าอะไรทำให้คิดว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย กับข้อความดังกล่าว แล้วถามทุกกลุ่มว่า มีใครอยาก
เปลี่ยนกลุ่มหรือไม่ หากมี ให้ผู้ที่เปลี่ยนใจเมื่อฟังเหตุผลของเพื่อนได้แสดงความเห็นของตนว่าก่อนที่
จะเปลี่ยนจุดยืนนั้น คิดอะไรจึงเลือกมายืนที่กลุ่มนี้ และที่เปลี่ยนใจอยากไปอยู่กลุ่มอื่น เพราะอะไร
สำหรับกลุ่มคนที่เลือกตอบว่า ไม่แน่ใจ อยากจะได้ข้อมูลอะไรเพิ่มเพื่อช่วยในการตัดสินใจหรือไม่ จากนั้น
อ่านข้อความที่เตรียมไว้ต่อไป และถามความเห็นของแต่ละกลุ่ม ทำแบบนี้จนครบทุกข้อที่เตรียมไว้
5. เมื่ออ่านข้อความที่เตรียมไว้ครบแล้ว ให้ผู้เรียนกลับมานั่งรวมกลุ่มเหมือนเดิม จากนั้น ผู้จัดการเรียนรู้
ชวนคุยเพื่อสรุปการเรียนรู้โดยใช้คำถาม ก่อนจะแจกใบความรู้ ความหมายของเพศสรีระ เพศสภาพ
ความเสมอภาค และความเท่าเทียมที่เตรียมไว้ให้กับทุกคน
. ่
คําถามเพือประเมินผู้เรียน
การที่บางคนเลือกมีเพศสภาพที่ตรงข้ามกับเพศสรีระของตนเองถือเป็นความผิดปกติหรือไม่ คิดว่า
.
เป็นเพราะอะไร จึงมีคนแสดงออกทางเพศต่างจากเพศสรีระของตัวเอง
หากคนในครอบครัวของเรามีคนที่เลือกจะแสดงออกทางเพศต่างจากเพศสรีระ เรารู้สึกอย่างไร
.
และหากมีคนในครอบครัวรับไม่ได้ เราจะทำอย่างไรได้บ้าง
หากการแสดงออกทางเพศที่ตรงข้ามกับเพศสรีระ ทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว เราจะช่วยเหลือ
.
อย่างไรได้บ้าง
ขอตัวอย่างของการปฏิบัติในโรงเรียนที่แสดงให้เห็นว่ายึดหลักความเท่าเทียม แต่ไมใช่่ความเสมอภาค
.
เพื่อมาแลกเปลี่ยนกัน
ในการวางแผนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ การที่เรารู้จักเรื่องเพศสภาพและความเสมอภาค ช่วยในการวางแผน
ในสถานศึกษาของเราหรือไม่ อย่างไร
128