Page 136 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 136
กิจกรรมที ่
3 ทักษะการสือสารเพือลดความขัดแย้ง
่
่
สาระสําคัญ
การส่งเสริมให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและข้อกังวลด้วยความเคารพสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ความเข้าใจผิด
บานปลายกลายเป็นปัญหาอันนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในสถานศึกษาได้
จุดประสงค์
1. สามารถระบุและจัดการอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีวิธีการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติและเคารพในสิทธิส่วนบุคคล
3. สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนตามแนวทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา
อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงาน BINGO วิธีลดความขัดแย้ง
2. ใบความรู้ อะไรคือ I - Message
3. ใบงานสำหรับแสดงบทบาทสมมติ
4. ปากกาเมจิก กระดาษฟลิบชาร์ท กระดาษกาว กระดาษ A4
เวลาทีใช้ 60 นาที
่
้
ขันตอนการดําเนินกิจกรรม
1. ผู้จัดการเรียนรู้ถามถึงประสบการณ์ของผู้เรียนว่าเคยเห็นเหตุการณ์หรือคำพูดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งว่า
มักจะเริ่มจากอะไรบ้าง และระดมขึ้นบนกระดาน จากนั้น ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยสรุปจากความเห็นที่ระดมไว้ว่า
ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุความขัดแย้งมักมาจากอะไร
1. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน สิ่งแวดล้อมที่ล้อมรอบตัวสมาชิกแต่ละคนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ก่อให้เกิด
ความขัดแย้งขึ้นมาได้
2. มีผลประโยชน์ขัดกัน อาจเกิดจากแต่ละคนมีความต้องการสิ่งเดียวกันในการทำงาน แต่อาจแบ่งปันกัน
ไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างจึงพยายามกีดกันไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งบรรลุถึงความต้องการ
3. มีความคาดหวังจากบทบาทที่ต่างกัน ต่างฝ่ายต่างทำนายพฤติกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งไว้ แต่กลับประเมินว่า
อีกฝ่ายหนึ่งมีพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับที่ตนทำนาย ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น
4. การมีอคติ ความขัดแย้งที่เกิดจากอคตินี้ทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึกส่วนตัวที่ไม่ดีต่อกัน และแสดง
ออกมาให้เห็นในขณะที่มีการติดต่อสื่อสารกันจนเป็นเหตุให้นำไปสู่ความขัดแย้ง และต่อด้วยการ
ใช้ความรุนแรง
131