Page 132 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 132
กิจกรรมที ่
2 ความเสมอภาค ่
กับการตอบสนองเมือเกิดภัยพิบัติ
สาระสําคัญ
การกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ หรือทางเพศ หรือสร้างความทุกข์ทรมานแก่บุคคล
ซึ่งรวมถึงความรุนแรงในครอบครัว การค้ามนุษย์ บังคับค้าประเวณี บังคับแต่งงาน (แต่เยาว์วัย) ล่วงละเมิดทางเพศ
การปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงทรัพยากรและบริการ มักเป็นผลจากความไม่เสมอภาคระหว่างเพศและการใช้อำนาจอย่างผิดๆ
จุดประสงค์
1. รู้ความหมายของ “เพศสรีระ” “เพศสภาพ” “ความเสมอภาค”
2. บอกความแตกต่างระหว่าง “ความเสมอภาค” และ “ความเท่าทียม” ได้
3. เข้าใจอิทธิพลที่กำหนดความเป็นผู้หญิง ผู้ชายในสังคม และสามารถตอบสนองได้ตรงกับความจำเป็น
และความต้องการเฉพาะเมื่อเกิดภัยพิบัติ
4. สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนตามแนวทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา
อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบความรู้ ความหมายของเพศสรีระ เพศสภาพ ความเสมอภาคและความเท่าเทียม
2. ปากกาเมจิก กระดาษฟลิบชาร์ท กระดาษกาว กระดาษ A4
เวลาทีใช้ 45 นาที
่
้
ขันตอนการดําเนินกิจกรรม
1. ก่อนเข้ากิจกรรม ผู้จัดการเรียนรู้จัดเก้าอี้นั่งเป็นสามกลุ่ม และนำป้าย เห็นด้วย มาติดเก้าอี้ในกลุ่มแรก
ป้าย ไม่เห็นด้วย ติดที่เก้าอี้ในกลุ่มที่สอง และป้าย ไม่แน่ใจ ติดไว้ที่เก้าอี้กลุ่มที่ 3
2. เมื่อถึงเวลาจัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนทุกคนมายืนรวมกันที่กลางห้อง และอธิบายว่า จะอ่านข้อความให้ฟัง
เมื่อฟังแล้ว ให้แต่ละคนใช้เวลาตัดสินใจว่า เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือไม่แน่ใจ กับข้อความที่ได้ฟัง จากนั้น
เดินไปยังกลุ่มเก้าอี้ที่ติดป้ายซึ่งตรงกับความเห็นของตนเอง โดยย้ำว่า ไม่ต้องกังวล เพราะไม่มีการตัดสิน
ว่าความเห็นกลุ่มไหนถูกหรือผิด ไม่มีการให้คะแนน เพราะกิจกรรมนี้ไม่ใช่การแข่งขัน
127