Page 286 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 286
ข้อมูลสําหรับผู้สอน
วิธีสังเกตและป้องกันการล่วงละเมิดในเด็ก
การล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก เป็นปัญหาท่ีอันตรายและร้ายแรง มักจะทำร้ายสภาพจิตใจของเด็ก
ทำให้มีสภาพจิตใจที่ไม่เป็นปกติ ส่งผลเสียต่อทั้งกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ของครอบครัว ของโรงเรียน เพื่อน ญาติ
หรือแม้แต่สังคม
การให้คำแนะนำสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับล่วงละเมิดเป็นสิ่งที่ควรทำ
เพราะนอกจากจะสามารถช่วยเด็กที่ถูกทารุณกรรมได้แล้ว ยังลดความเสี่ยงของการล่วงละเมิดในเด็กได้
สังเกตสัญญาณการถูกล่วงละเมิด สัญญาณทางกายที่มองเห็นได้ เช่น รอยฟกช้ำตามร่างกาย
ข้าวของส่วนตัวถูกทำลาย ฯลฯ แต่มีสัญญาณที่มองไม่เห็น เช่น เด็กที่ถูกทารุณบ่อยครั้งมักจะ
1 แสดงอาการหวาดกลัว ตกใจง่าย วิตกกังวล ไม่ไว้วางใจ พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เด็กเหล่านี้
มักมีปัญหาในการเข้าหาเพื่อนใหม่ เข้าหาคนอื่นๆ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นสัญญาณความผิดปกติ
ที่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สังเกตพฤติกรรมที่แตกต่างจากปกติหรือมีการจดบันทึกพฤติกรรม
2 เช่น สังเกตเห็นว่าเด็กมีอาการนอนไม่หลับ ไม่ค่อยกินอาหาร เก็บตัวอยู่คนเดียว หรือเกิดอาการ
ก้าวร้าว สัญญานเหล่านี้ทำให้เห็นว่าเขากำลังทุกข์ทรมานจากการถูกล่วงละเมิดบางประเภท
สังเกตเด็กกลัวบ้านหรือกลัวการไปโรงเรียนหรือไม่ เมื่อสังเกตเห็นว่าเด็กไม่ยอมกลับบ้านหรือ
ไม่ยอมไปโรงเรียน และดูเหมือนว่าเขาจะกลัว เช่นกลัวว่าจะถูกทำร้ายที่บ้าน กลัวการไปโรงเรียน
3 หรือกลัวการเดินทางไปไหนมาไหนกับคนบางคน พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญานว่าเขากำลัง
ถูกทารุณ
สังเกตเด็กหมกมุ่นเรื่องเพศมากเกินไป บ่อยครั้งที่เด็กที่ถูกทารุณทางเพศจะแสดงความรู้เกี่ยวกับ
4 เพศมากขึ้นกว่าที่ควร เขาอาจแสดงพฤติกรรมทางเพศหรือใช้ภาษาที่ชัดเจนมากขึ้น
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
กับเด็ก จึงควรสังเกตอาการหรือพฤติกรรมที่ต่างไปจากเดิมเพิ่มเติม เช่น น้ำหนักตัวลดลง
5 หรือหวาดผวามากยิ่งขึ้น แปลว่าเด็กกำลังถูกล่วงละเมิดอย่างหนักจนเกิดความหวาดระแวง
และไม่อยากกินอาหาร เด็กจะเก็บตัว พูดน้อย ไม่กล้าสู้หน้าคนอื่น
281