Page 6 - คู่มือแผนการสอนเรื่องภัยพิบัติและการปกป้องคุ้มครองเด็ก ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19
P. 6

เกี่ยวกับคู่มือ








                                      โครงการผสานกรอบการปกป้อง คุ้มครองเด็กในแผนเผชิญเหตุสภาวะ

                                ฉุกเฉินระดับชุมชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดย สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อ
                                สันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) ได้ร่วมมือกับโรงเรียนหลายแห่งในการจัดท�า

                                มาตรการการเตรียมความพร้อมทั้งด้านความรู้และทักษะการเอาตัวรอดใน
                                สถานการณ์ฉุกเฉินแก่นักเรียนและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา โดยร่วมมือกับ
                                ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมทั้งการท�าแผนปฏิบัติการการจัดการภัยพิบัติ

                                ในโรงเรียน  ร่วมกับชุมชน  และมีการฝกซ้อมเป็นประจ�าเพื่อสร้างความคุ้นเคย
                                หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจริง ตามองค์ประกอบของกรอบความปลอดภัยรอบด้าน

                                ในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ 1. อาคารสถานที่ และสิ่งอ�านวย
                                ความสะดวกในโรงเรียนที่ปลอดภัย 2. การบริหารจัดการภัยพิบัติในสถานศึกษา และ
                                3. การศึกษาด้านการลดความเสี่ยง และการรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติ


                                      ในการด�าเนินงานด้านการศึกษาลดความเสี่ยงและการรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติ
                                โครงการฯ เห็นว่าสามารถน�าเสาหลักด้านนี้ไปบูรณาการเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อม

                                ในชุมชนหรือความรู้รอบตัวและการเรียนการสอนทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็น
                                ทางการ (การเรียนในห้องเรียนและกิจกรรมพิเศษนอกห้องเรียน) เพื่อเสริมทักษะ

                                ชีวิตแก่นักเรียน

                                      ด้วยเหตุนี้  โครงการฯ จึงได้จัดท�าคู่มือแผนการสอนเรื่องภัยพิบัติและ
                                การปกป้องคุ้มครองเด็กภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส�าหรับช่วง

                                ชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6) เล่มนี้ขึ้นมา  โดยหวังให้ครูผู้สอนได้ใช้บูรณาการ
                                เข้ากับแผนการสอนกลุ่มสาระวิชาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ก�าหนด เพื่อ

                                ให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งในสมรรถนะที่ส�าคัญของผู้เรียนตามหลักสูตร
                                แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 5 ด้าน ได้แก่

                                          1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและ

                                           ส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ
                                               ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ

                                                  ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
                                                    รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้ง
                                                     ต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล

                                                     และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มี
                                                     ประสิทธิภาพโดยค�านึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม






        4     คู่มือแผนการสอนเรื่องภัยพิบัติและการปกป้องคุ้มครองเด็ก ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19
               ส�าหรับช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11