Page 65 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 65
ในบทความดังกล่าวผู้เขียนให้ความส าคัญกับบทบาทของศรีวิชัย
ที่มีความสัมพันธ์กับทวารวดี โดยตั้งข้อสันนิษฐานว่า “การติดต่อค้าขาย
ระหว่างจีนและทวารวดี ในช่วงที่เกิดอาณาจักรศรีวิชัยขึ้นแล้วคง
เป็นไปในทางอ้อม คือน่าจะผ่านมาทางบ้านเมืองทางใต้มากกว่าจะ
34
ติดต่อกันโดยตรง” และยังให้ความส าคัญเป็นพิเศษกับระยะเวลาในช่วง
พุทธศตวรรษที่ 14 (พ.ศ. 1300–1400) เพราะเป็นห้วงเวลาที่การค้าขาย
เครื่องถ้วยจีนตามเส้นทางสายไหมทางทะเลเฟื่องฟูอย่างมาก และเป็นช่วงที่
เมืองท่าค้าขายทางภาคใต้เจริญขึ้น จึงได้พบโบราณวัตถุประเภทสินค้าจาก
ต่างถิ่นในหลุมขุดค้นที่เมืองนครปฐมซึ่งก าหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่
14–16 และกรอบอายุเวลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 นี้ก็ดูจะสอดคล้องกันดี
กับผลการศึกษาของผาสุข อินทราวุธ, ธิดา สาระยา และโรเบิร์ท เอส วิคส์
ดังกล่าวแล้วข้างต้นด้วย
แนวทางในการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจการค้าในสมัยทวารวดี
จากการทบทวนวรรณกรรมนอกจากจะท าให้ทราบว่ามีการ
ค้นคว้าประเด็นเรื่องเศรษฐกิจการค้าในสมัยทวารวดีอยู่ไม่มากนักแล้ว
ยังท าให้ได้เข้าใจเพิ่มเติมด้วยว่ายังไม่เคยมีการรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์
ให้เห็นภาพรวมเรื่องนี้เลย เพราะดูเหมือนจะเป็นการศึกษาในประเด็นย่อยๆ
ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด คือเรื่องของพ่อค้า (และ
เครื่องราง) เงินตราหรือสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หรือผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากการค้า โดยเฉพาะการค้าโพ้นทะเล (maritime trade)
ดังนั้นการศึกษาเรื่องการติดต่อค้าขายโพ้นทะเลตามเส้นทางสาย
ไหมทางทะเล (maritime silk road) ซึ่งมีส่วนส าคัญเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ
คือ การเกิดขึ้น การด ารงอยู่ และการล่มสลายของรัฐโบราณต่างๆ ในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ย่อมจะน ามาซึ่งความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจการค้าระหว่าง
ประเทศและพัฒนาการของบ้านเมืองในสมัยทวารวดีได้ดียิ่งขึ้น
54