Page 62 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 62
ติดต่อกับชนพื้นเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะตั้งหลักแหล่งลงที่นี่
(เพื่อหลบลมมรสุม) และบางคนก็แต่งงานกับคนท้องถิ่น จนเกิดการเรียนรู้
ภาษา ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์และภิกษุชาวอินเดียก็คงเดินทางออก
มาบ้าง และท าให้การเผยแพร่อารยธรรมอินเดียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
27
มากขึ้น
น่าสังเกตด้วยว่าเซเดส์ได้ระบุว่า “การเผยแพร่อารยธรรม
อินเดียนี้คงเป็นไปอยู่ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี และสื่อส าคัญอีก
อย่างหนึ่งก็คือ ชาวเอเชียอาคเนย์ที่เดินทางเข้าไปค้าขายหรือศึกษายัง
ประเทศอินเดียและกลับเข้ามาอยู่ยังประเทศของตน พวกนี้อาจน า
28
วัฒนธรรมอินเดียเข้ามาเผยแพร่ได้ง่ายกว่าชาวอินเดียเอง”
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้เช่นเดียวกันว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของชุมชนโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยก็เป็นผลมาจากปัจจัย
ภายนอก คือ ชาวต่างชาติ (โดยเฉพาะชาวอินเดีย) และปัจจัยภายใน คือ
ชนพื้นเมือง (ทั้งสองกรณีนี้พ่อค้าและนักบวชย่อมมีบทบาทอย่างมาก) ที่มี
ความส าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการค้าในบทความเรื่อง “เหรียญเงินไม่มีจารึก
พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี”
ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เมื่อ พ.ศ. 2549 ผาสุข อินทราวุธ ได้น าเสนอบทความเรื่อง “เหรียญเงินไม่มี
29
จารึกพบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี” ซึ่งท่านระบุว่ามีเหรียญเงินที่มี
สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ศรีวัตสะ สังข์ พระอาทิตย์ ฯลฯ โดยได้พบในรัฐฟูนัน
รวมทั้งรัฐปยูและรัฐมอญในประเทศเมียนมา แต่ยังไม่มีรายงานว่าพบใน
ประเทศอินเดีย ดังนั้น “เหรียญเงินเหล่านี้ผลิตขึ้นโดยกษัตริย์ผู้มีอ านาจใน
การปกครองประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะ
ควบคุมค่าเงินในการค้าขายกับชุมชนภายนอก”
30
51