Page 59 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 59
ถึงแม้ข้อความที่ยกมาข้างต้นจะเน้นไปที่บทบาทของวัฒนธรรม
ทางพุทธศาสนาจากอินเดียที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมทวารวดี แต่ใน
หนังสืออันทรงคุณค่าเล่มนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความส าคัญของเครือข่ายการค้า
ของโลกโบราณ โดยเฉพาะในช่วง “ราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ” ราวพุทธศตวรรษ
ที่ 3–5 ซึ่งอินเดียเปิดเส้นทางการค้าภายในประเทศ และเปิดประตูการค้ากับ
โลกตะวันตกด้วย
ต่อมาในช่วงยุค “อินโด-โรมัน” (Indo–Roman period) ราวพุทธ
ศตวรรษที่ 5–9 ก็ได้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างอินเดียและโรมัน
อย่างเป็นล ่าเป็นสัน และมีการตั้งถิ่นฐานของชาวโรมันในอินเดียภาคใต้
จึงท าให้พ่อค้าชาวอินเดียและอาจรวมถึงชาวโรมันเดินเรือเลียบชายฝั่งมายัง
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท าให้พบโบราณวัตถุตามอย่างวัฒนธรรมอินเดีย
และโรมันหลากหลายประเภทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งลูกปัดหิน
ลูกปัดแก้ว ภาชนะส าริด ลูกเต๋า ตะเกียง หัวแหวนสลักจากหินมีค่า
(intaglio) เหรียญกษาปณ์อินเดีย รวมทั้งเหรียญกษาปณ์และภาชนะดินเผา
22
แบบโรมัน (ภาพที่ 19)
ภาพที่ 19 เหรียญทองแดงของโรมัน สมัยจักรพรรดิวิคโตรินุส (พ.ศ. 811-813)
พบที่เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
48