Page 61 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 61

“ดังนั้นเมื่อพ่อค้าชาวอินเดียเริ่มเปิด
                      ประตูการค้ากับประชากรในภูมิภาคเอเชีย
                      ตะวันออกเฉียงใต้ (ราวพุทธศตวรรษที่ 3) ก็คงใช้

                      เส้นทางเดิมที่ชาวพื้นเมืองเคยใช้อยู่ก่อนแล้ว ท าให้
                      การติดต่อค้าขายระหว่างชาวอินเดียและประชากร
                      ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไปอย่างสะดวกและ
                      ปลอดภัย ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้พ่อค้าและนักบวชทั้ง
                      ในศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาติดตามกันเข้า

                      มาตั้งถิ่นฐานและตั้งนิคมการค้าตามเมืองท่าหรือ
                      ศูนย์กลางการค้าโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                      และน าเอาวัฒนธรรมประเพณีที่เคยถือปฏิบัติใน
                      ประเทศตนมาเผยแพร่ให้ชนพื้นเมืองจนเกิดความ
                      เลื่อมใสศรัทธา จึงเริ่มมีการจัดระเบียบสังคมแบบ
                                24
                      สังคมอินเดีย”

                       การจัดระเบียบทางสังคมตามแบบอินเดียอย่างหนึ่งคือ การผลิต
              เหรียญกษาปณ์ โดยพ่อค้าชาวอินเดียได้น าเอาเหรียญกษาปณ์ของตนมา
              เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกับคนพื้นเมืองก่อน ตัวอย่างเช่น เหรียญเงิน

              ผสมตะกั่วรูปช้างของราชวงศ์สาตวาหนะ พบที่บ้านท่าแค อ าเภอเมือง
                        25
              จังหวัดลพบุรี  ต่อมากษัตริย์ทวารวดี (และรัฐอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
              ซึ่งแสวงหารายได้จากการค้าขายกับชุมชนภายนอก จึงผลิตเหรียญโลหะขึ้น
                                          26
              ใช้โดยขอยืมสัญลักษณ์มาจากอินเดีย
                       อาจกล่าวได้ว่า ข้อเสนอของผาสุข อินทราวุธ ข้างต้นมีความ
              สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการแพร่หลายของอารยธรรมอินเดียในเอเชีย

              ตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “Indianization” ซึ่งยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès)
              เสนอไว้ โดยเซเดส์ให้ความส าคัญกับพวกพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามา




                                          50
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66