Page 63 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 63

บทความดังกล่าวให้รายละเอียดหรือคุณลักษณะของเหรียญเงิน
              ไม่มีจารึกทุกประเภท ทั้งตราสัญลักษณ์ (มงคล) ที่ปรากฏ ขนาด น ้าหนัก
              และความแพร่หลาย โดยเปรียบเทียบกับเหรียญที่พบในประเทศเมียนมา

              (รัฐยะไข่หรืออารกัน รัฐปยู และรัฐมอญ) ซึ่งได้ข้อสรุปว่า รัฐทวารวดีมีการ
              ผลิตเหรียญเงินไม่มีจารึกขึ้นใช้ ซึ่งอาจดัดแปลงหรือท าเลียนแบบจากเหรียญ
              ที่ใช้กันอยู่ในเมียนมา และน่าจะมีการใช้เหรียญเงินเป็นสื่อกลางในการ
                                                 31
              ค้าขายกันระหว่างชาวปยูกับชาวทวารวดีด้วย
                       ดังนั้นเหรียญเงินไม่มีจารึก (บางประเภท) จึงเป็นหลักฐาน

              ส าคัญที่บ่งชี้ว่า รัฐทวารวดีมีการค้าขายระหว่างประเทศ อย่างน้อย
              ที่สุดก็มีการติดต่อกับรัฐโบราณในเมียนมา และน่าจะใช้ในการค้าขาย
              แลกเปลี่ยนกันเองภายในชุมชนทวารวดีด้วย เพราะได้พบเหรียญเหล่านี้

              ตามเมืองโบราณต่างๆ เช่น อู่ทอง นครปฐม คูบัว ศรีมโหสถ จันเสน ดงคอน
              (จังหวัดชัยนาท) พรหมทิน (จังหวัดลพบุรี) เป็นต้น ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่
              สนับสนุนผลการศึกษาของโรเบิร์ท เอส วิคส์ ที่กล่าวแล้วข้างต้น

              แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการค้าในบทความเรื่อง “การค้าขายระหว่าง

                       ประเทศสมัยทวารวดี:  มุมมองจากงานโบราณคดีเมือง
                                32
                       นครปฐม”
                       บทความของผู้เขียนชิ้นนี้เป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก
              วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
                          33
              เมื่อ พ.ศ. 2553   ซึ่งใช้ข้อมูลหลักจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมือง
              นครปฐม โดยจากการศึกษาพบว่าในช่วงก่อนหน้าสมัยทวารวดีราวพุทธ
              ศตวรรษที่ 8–11 ชุมชนโบราณที่เมืองนครปฐมคงจะมีการติดต่อสัมพันธ์กับ
              ชุมชนร่วมสมัยแห่งอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศแล้ว ดังได้พบเศษ
              ภาชนะดินเผาทรงชามที่มีลายขัดมันสีด าหรือเป็นเส้นมันวาวคล้ายภาชนะ
              แบบพิมายด า (Phimai black pottery) และพบเศษภาชนะเขียนลายสีแดงรูป




                                          52
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68