Page 64 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 64

ดวงอาทิตย์คล้ายกับที่พบที่เมืองอังกอร์ บอเร็ย (Angkor Borei) และแหล่ง
              ฝังศพยุคเหล็กที่ภูมิสนาย (Phum Snay) ในประเทศกัมพูชา
                       ผู้เขียนมีความเห็นว่า การติดต่อกันระหว่างชุมชนข้างต้นน่าจะ

              เป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้ชุมชนโบราณที่นครปฐมพัฒนาไปเป็นเมืองขนาด
              ใหญ่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และเป็นศูนย์กลางของรัฐทวารวดี ซึ่งปรากฏ
              เรื่องราวอยู่ในเอกสารจีน จนกระทั่งในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 จึงได้
              เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของเมืองนครปฐมขึ้นอีกครั้ง เพราะพบ
              หลักฐานทางโบราณคดีประเภท “สินค้าต่างถิ่น” ที่แสดงว่าชุมชนที่นครปฐม

              มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับทั้งชุมชนภายใน (domestic  trade)  และ
              ชุมชนภายนอกอย่างกว้างขวางคือเป็นการค้าระดับนานาชาติ (international
              trade) แล้ว
                       ด้วยความที่เมืองนครปฐมตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม ไม่มี
              ทรัพยากรธรรมชาติใดๆ ดังนั้นการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหินและ
              โลหะ จึงต้องเกิดขึ้นจากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ภายใน

              ขอบเขตของรัฐทวารวดีเอง อาทิเช่น น าโกลนหินจากแหล่งวัตถุดิบในจังหวัด
              เพชรบุรีมาผลิตประติมากรรมรูปเคารพ หรือน าตะกั่วจากแหล่งวัตถุดิบใน
              จังหวัดกาญจนบุรีมาผลิตเครื่องมือใช้สอย เป็นต้น
                       การค้าภายในนี้ด าเนินควบคู่ไปกับการค้าระหว่างประเทศ เพราะ

              จากการขุดค้นได้พบลูกปัดแก้วสีเดียว และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง
              ผู้เขียนจึงเสนอว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เมืองนครปฐมมีการติดต่อสัมพันธ์
              และท าการค้าขายระหว่างดินแดนมากขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วง
              พุทธศตวรรษที่ 14 คงเป็นผลมาจากการการปรากฏขึ้นของศรีวิชัยใน
              เกาะสุมาตราและคาบสมุทรมลายู ซึ่งท าหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางใน

              เส้นทางสายไหมทางทะเล ดังนั้นจึงพบสินค้าต่างถิ่นคือลูกปัดแก้วสีเดียวและ
              เครื่องถ้วยจีนที่พบมากเป็นพิเศษในภาคใต้ของไทยตามเมืองสมัยทวารวดี
              ในภาคกลางด้วย




                                          53
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69