Page 55 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 55

2. ข้อมูลการใช้เงินตราจากเอกสารจีน และลักษณะของเหรียญ
                          สมัยทวารวดี
                       วิคส์กล่าวเชื่อมโยงเรื่องราวของทวารวดีกับเอกสารจีนสมัย

              ราชวงศ์ถัง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งสารานุกรมทงเตี่ยนและพงศาวดาร
              ราชวงศ์ถังฉบับใหม่ (ชินถังซู) ระบุว่า ในรัฐโถวเหอมีการใช้เหรียญเงินที่มี
              ขนาดเล็กรูปร่างคล้ายเมล็ดเอล์ม (elmseeds)  อันถือเป็นข้อมูลเอกสารเก่า
              สุดที่บ่งชี้ว่ามีการใช้เหรียญในระบบการค้าระดับรัฐเกิดขึ้นแล้วในเอเชีย
                             14
              ตะวันออกเฉียงใต้  (จะกล่าวถึงรายละเอียดที่ปรากฏในเอกสารจีนนี้ใน
              บทที่ 4)
                       เกี่ยวกับคุณลักษณะของเหรียญที่ใช้ในรัฐทวารวดีนี้ วิคส์ให้
              ข้อมูลว่าส่วนใหญ่เป็นเหรียญเงิน แต่มีบ้างที่ท าจากดีบุกหรือตะกั่ว และได้
              พบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อเหรียญเช่นตัวอย่างหลักฐานจากเมืองจันเสน โดยเขาได้
              แบ่งเหรียญออกเป็นแบบต่างๆ ดังตารางในหน้าถัดไป
                       จะเห็นได้ว่ารูปแบบของเหรียญที่พบมากคือ เหรียญรูปสังข์-
                                                        15
              ศรีวัตสะ ซึ่งน่าจะผลิตขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11–13  แต่การพบเหรียญ
              บางแบบในบางพื้นที่คงแสดงให้เห็นถึงความเจริญของเมืองนั้นๆ ในแต่ละ
              ช่วงเวลา เช่นกรณีเหรียญแบบ A ซึ่งพบเฉพาะที่เมืองนครปฐมก็แสดงว่าคง
              มีการผลิตขึ้นที่นั่น ส่วนเหรียญแบบ D ซึ่งพบเฉพาะที่เมืองอู่ทองก็แสดงว่า

              เมืองนี้มีความส าคัญเป็นศูนย์กลางการปกครองและศาสนาภายหลังจากที่
              เมืองนครปฐมได้ผลิตเหรียญขึ้นใช้เองแล้ว ขณะที่เหรียญแบบ C นั้นพบทั้งที่
              นครปฐม อู่ทอง และพบไปถึงเขตจังหวัดชัยนาท แต่ไม่พบเลยไปถึงเขต
              จังหวัดลพบุรี ซึ่งสอดคล้องกับขอบเขตการปกครองของรัฐทวารวดีและ
                                 16
              ลวปุระที่กล่าวแล้วข้างต้น








                                          44
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60