Page 52 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 52
มาแล้วว่าชุมชนทวารวดีโดยทั่วไปต่างเป็นชุมชน
เกษตรกรรม มีการผลิตพอเลี้ยงตัวเองได้อยู่ในที่
ราบลุ่มน ้าล าคลอง เส้นทางคมนาคมทางน ้าติดต่อ
ถึงกัน เห็นได้ชัดเจนจากผังเมืองโบราณนครปฐม
ลักษณะเช่นนี้ท าให้เห็นว่า การค้าเป็นเศรษฐกิจ
หลักของชาวทวารวดี ทั้งกิจการภายใน
และภายนอกติ ดต่ อกับต่ างประเทศ
นอกเหนือไปจากการท านาในเขตที่ราบลุ่มน ้า
ล าคลอง เช่นเดียวกับเมืองโถวเหอ ซึ่งประชาชน
ท าการเพาะปลูก และการค้าทั้งยังส่งทูตไปเมือง
จีนเพื่อเจริญไมตรีทางการค้า อันถือได้ว่าเป็น
7
รูปแบบของการค้าต่างประเทศ”
นอกจากนี้ ธิดา สาระยา ยังได้กล่าวถึงพ่อค้าในสมัยทวารวดีไว้
ด้วยว่า เป็นชาวเมืองที่มีฐานะสูงกว่าชาวไร่ชาวนา เปรียบเสมือนตัวกลางใน
การเชื่อมโยงระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่อยู่ใต้ปกครอง โดยน่าจะมีทั้ง
พ่อค้าชาวอินเดียและชาวพื้นเมือง ซึ่งพ่อค้ายังมีบทบาทเป็นผู้ส่งผ่าน
8
วัฒนธรรมหรือวัตถุทางวัฒนธรรมใหม่ๆ ไปยังชุมชนต่างๆ อีกด้วย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ธิดา สาระยา ให้ความส าคัญกับปัจจัย
ภายนอก คือแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการค้าทางทะเล ซึ่งส่งผล
กระทบต่อโครงสร้างภายในของชุมชนทวารวดีเอง โดยมีปัจจัยภายในก็คือ
การที่ชุมชนเหล่านั้นต่างมีความพร้อมด้วยสามารถควบคุมแหล่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กันมาก่อนหน้าสมัยทวารวดี
แล้ว
41