Page 54 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 54

1. การใช้เหรียญมีจารึกในการก าหนดขอบเขตการปกครองของ
                          รัฐทวารวดี
                       วิคส์ เสนอว่า การค้นพบเหรียญเงินมีจารึก ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย

              น่าจะน ามาใช้ในการก าหนดขอบเขตทางการปกครองของรัฐทวารวดีได้
              เพราะได้พบเหรียญดังกล่าวจากเมืองนครปฐม เมืองอู่ทอง บ้านคูเมือง
              อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งเมืองทั้งหมดตั้งอยู่ทางฟาก
                                       11
              ตะวันตกของลุ่มแม่น ้าเจ้าพระยา
                       ดังนั้นวิคส์จึงแยกเอาเมืองลพบุรีหรือละโว้ออกไปจากขอบเขต

              ของรัฐทวารวดี เนื่องจากได้ค้นพบเหรียญเงินมีจารึก “ลวปุระ” ที่เมืองอู่ทอง
              ก าหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12–13  (ภาพที่ 18) โดยค าว่า “ลวปุระ”
                                     12
              ก็คือชื่อดั้งเดิมของเมืองลพบุรี  ทั้งยังกล่าวด้วยว่า การค้นพบเหรียญเงินที่
              เมืองพรหมทินทางตอนเหนือของเมืองลพบุรีแสดงให้เห็นถึงบทบาทของ
              ชุมชนโบราณแถบลพบุรีที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เพื่อรับกับ
              เครือข่ายการค้าระหว่างภูมิภาค  และลพบุรีก็มีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนตกอยู่
                                                               13
              ในความครอบครองของกัมพูชาโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16
















                ภาพที่ 18 เหรียญเงินมีจารึกอักษรปัลลวะ “ลวปุระ” พบที่เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
                     (ที่มา: J.J.Boeles, “A note on the ancient city called Lavapura,”
                       Journal of the Siam Society LV, I (January 1967): 115.)



                                          43
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59