Page 51 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 51
ดูเหมือนว่าแนวคิดของธิดา สาระยาได้ขยายมาจากผลการศึกษา
เรื่อง “การก่อตัวของรัฐในลุ่มน ้าท่าจีน-แม่กลอง: พัฒนาการทาง
ประวัติศาสตร์ของเมืองนครปฐม ศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดี”
5
ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2531 โดยท่านให้ความส าคัญกับปัจจัยด้าน
นิเวศน์วิทยา (ecology) คือการเป็นเมืองในลุ่มน ้าล าคลอง และการ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาค โดยเสนอว่า
นครปฐมเป็นเมืองที่ถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เพื่อรองรับจ านวน
ประชากรที่มีเพิ่มมากขึ้น และสนับสนุนการขยายตัวทางการค้าที่เกิดขึ้น
6
ทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคหรือการค้าโพ้นทะเล
2. ระบบเศรษฐกิจการค้าของรัฐทวารวดี
ธิดา สาระยา ให้ความส าคัญเป็นพิเศษกับการปะทะสังสรรค์
ระหว่างเมืองท่าชายฝั่งที่พัฒนาเป็นศูนย์กลางของรัฐทวารวดีโดยเฉพาะ
เมืองนครปฐมกับชุมชนที่ตั้งอยู่ตอนในแผ่นดิน หรือ “เมืองชายขอบ” ท่านมี
ความเห็นว่าการแพร่หลายของศิลปะทวารวดีที่ครอบคลุมอาณาบริเวณ
กว้างขวาง แสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนผลิตผลทางเศรษฐกิจ อาทิเช่น
สินค้าของป่ากับวัตถุสิ่งของในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งน าไปสู่การแพร่หลาย
ของวัฒนธรรมจากศูนย์กลางไปยังชุมชนต่างๆ ด้วย
ทั้งนี้ธิดา สาระยา เสนอว่า ระบบเศรษฐกิจของรัฐทวารวดีพึ่งพา
การท านาปลูกข้าว โดยอาศัย วัว ควาย และแรงงานคน ขณะเดียวกันการค้า
ขายแลกเปลี่ยนก็ยังคงมีบทบาทส าคัญอย่างมาก ดังความตอนหนึ่งว่า
“ทวารวดีเป็นรัฐที่เป ิ ดออกสู่ทะเล
อยู่ในเส้นทางคมนาคมติดต่อกับภูมิภาคส่วนใน
ของลุ่มน ้าเจ้าพระยาทุกด้าน นับว่าอยู่ในท าเล
ได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจการค้า ได้กล่าว
40