Page 48 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 48

บทที่ 2
                        ก้าวสู่ประเด็นเศรษฐกิจการค้าในสมัยทวารวดี


                       หากพิจารณาในแง่ขององค์รวมทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์
              งานศิลปกรรมทางศาสนาที่ปรากฏหลักฐานอยู่เป็นจ านวนมากในสมัย
              ทวารวดี ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ด้วย ทั้งในแง่

              การเมืองการปกครอง และระบบเศรษฐกิจหรือการค้าขายแลกเปลี่ยน
              เพราะระบบเศรษฐกิจที่ดีของชุมชนหรือบ้านเมืองย่อมช่วยส่งเสริมอ านาจ
              บารมีของสถาบันกษัตริย์ผู้คอยให้การอุปถัมภ์ค ้าชูศาสนา
                       อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีเอกสารทาง
              วิชาการที่กล่าวถึงลักษณะทางเศรษฐกิจหรือการค้าขายแลกเปลี่ยนในสมัย
              ทวารวดีอยู่อย่างจ ากัด โดยเอกสารส าคัญที่ให้ข้อมูลพร้อมทั้งเสนอแนะ

              ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือการค้าขายแลกเปลี่ยนในสมัย
              ทวารวดี มีดังต่อไปนี้

              แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการค้าในบทความเรื่อง “เครื่องรางของพ่อค้า”

                       ผาสุข อินทราวุธ นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญเรื่องสมัยทวารวดี
              มากที่สุดท่านหนึ่ง เคยเสนอบทความขนาดสั้นเมื่อ พ.ศ. 2528 ในชื่อ
                                2
              “เครื่องรางของพ่อค้า”  โดยท่านให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9–16
              มีการติดต่อค้าขายกันโดยตรงระหว่างชาวอินเดียและชนพื้นเมืองทวารวดี
              ซึ่งน่าจะมีความเจริญถึงขีดสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-16 เมืองท่าส าคัญ
              ได้แก่ อู่ทอง นครปฐม ซับจ าปา จันเสน และเมืองบน (จังหวัดนครสวรรค์)

              โดยตามเมืองโบราณเหล่านี้ได้พบแผ่นดินเผารูปคช-ลักษมีและท้าวกุเวร
              (ชัมภล) อันเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่ง
              ร ่ารวย จึงสันนิษฐานว่าแผ่นดินเผานี้เป็นเครื่องราง ซึ่งพ่อค้าชาวอินเดียนิยม
              น ารูปเทพีคช-ลักษมีและท้าวกุเวรติดตัวไปในการเดินทางค้าขาย




                                          37
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53